บทบาทสถาบันการเงินชุมชนเเละรัฐบาล

     สถาบันการเงินชุมชน (Microfinance) คือ ระบบการเงินในระดับจุลภาค หมายถึง ระบบการเงินที่เน้นการปล่อยสินเชื่อจํานวนเล็กๆ (Microcredit) ให้แก่คนที่ไม่มีงานทําและคนยากจนผู้ซึ่งไม่มีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อในรูปแบบปกติผ่านทางสถาบันทางการเงินรายย่อยๆ อาจเรียกได้ว่าเป็นโครงการเงินกู้ไร้หลักประกันสําหรับคนจน เป็นการปล่อยกู้นอกระบบอย่างถูกกฎหมาย โดยมีต้นกําเนิดมาจากธนาคารกรามีน (Grameen Bank) บังคลาเทศ ในปี ค.ศ.1976 โดยแนวคิดของศาสตรจารย์โมฮัมมัส ยูนุส นักเศรษฐศาสตร์ชาวบังคลาเทศผู้ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี ค.ศ.2006 ยูนุสส่งเสริมแนวคิดที่ว่า “การเข้าถึงสินเชื่อเป็นสิทธิมนุษยชน” เขาพบว่าปัญหาของคนยากจน คือ พวกเขาไม่มีเครดิตที่จะนําไปค้ําประกันแก่ธนาคารทั่วไปหรือไม่ก็จํานวนเงินที่พวกเขาต้องการกู้ยืมก็อาจจะเล็กน้อยเสียจนธนาคารทั่วไปไม่สามารถปล่อยให้กู้ได้เพราะไม่คุ้มทุน ทําให้คนจนหมดหนทางที่จะยกระดับมาตรฐานการดํารงชีพด้วยเหตุนี้เขาจึงเกิดความคิดที่จะสร้างระบบการกู้ยืมเงินแบบไมโครเครดิตขึ้นมาโดยมีแนวทางการดําเนินงาน ดังนี้
        1. เป็นการช่วยเหลือคนจนโดยเฉพาะผู้หญิงให้ชนะความจนได้ด้วยตนเอง
        2. เป็นสินเชื่อให้กู้บนรากฐานความเชื่อใจ
        3. จะรับเงินกู้ได้ก็ต่อเมื่อเข้ารวมกลุ่มผู้กู้ยืม
        4. เงินกู้จะมาพร้อมกับโครงการออมทรัพย์ทั้งภาคบังคับและสมัครใจ
        5. เงินกู้มาจากองค์กรที่เป็นกลุ่มการเงินในชุมชน และต้องบริหารงานได้อย่างยั่งยืน (Sustainable)
    6. ธนาคารจะให้ความสําคัญกับการสร้างทุนสังคม (Social capital) สนับสนุนการรวมกลุ่มจัดสร้างองค์กรในชุมชน ส่งเสริมให้สร้างทุนมนุษย์ให้คนรู้สึกมีคุณค่าพร้อมไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมองค์กรต้องให้ความสําคัญกับการศึกษาเด็กในชุมชน มีการจัดมอบทุนการศึกษา และ เงินกู้เพื่อการศึกษาระดับสูง มีการสนับสนุนให้รู้จักการนําเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้เพื่อลดการใช้แรงงานมนุษย์

บทบาทสถาบันการเงินชุมชนและรัฐบาล

1. การเป็นตัวกลางทางการเงินให้กับประชาชนในชุมชนที่เป็นสมาชิกกลุ่ม โดยให้บริการด้านการออมและสินเชื่อ
2. การเป็นศูนย์รวมทางสังคมในการดําเนินกิจกรรมการพัฒนาชุมชนด้านต่างๆ
3.มีการจัดสวัสดิการให้กับสมาชิกและสาธารณประโยชน์ในส่วนของการพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน
4. มีการสร้างความเข็มแข็งให้กับทุนทางสังคมของสมาชิก โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและคนยากจนในระดับต่างๆ ตั้งแต่ระดับครัวเรือนวิสาหกิจ และชุมชน
5. มีการสร้างภูมิคุ้มกันผลกระทบที่อาจเกิดจากปัจจัยภายนอกอีกด้วย เป็นเครื่องมือหนึ่งที่สําคัญในการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยเฉพาะในประเทศกําลังพัฒนาโดยช่วยทําให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมในแง่ของการเป็นทุนการผลิตและสามารถต่อยอดไปเป็นการสร้างงานสร้างรายได้ ก่อให้เกิดการรวมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันเกิดองค์ความรู้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น