กระบวนการให้สินเชื่อ

สถาบันการเงินชุมชน
กระบวนการให้สินเชื่อชุมชน
1. องค์กรผู้ให้สินเชื่อ
          องค์กรผู้ให้สินเชื่อต้องมีคุณสมบัติดังนี้
          (1) เป็นเครือข่ายองค์กรชุมชน
          (2) มีกิจกรรมการออมทรัพย์หรือร่วมทุนของสมาชิก กิจกรรมการพัฒนาและการบริหารจัดการร่วมกันอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 6 เดือน
          (3) มีโครงสร้างการบริหารจัดการภายในองค์กรและกำหนดบุคคลผู้รับผิดชอบชัดเจน รวมถึงมีการบริหารจัดการที่เปิดเผย โปร่งใสสามารถตรวจสอบได้
          (4) มีการจัดโครงสร้างการบริหารจัดการโครงการตามแผนการดำเนินธุรกิจและกำหนดบุคคลผู้รับผิดชอบชัดเจน รวมถึงมีการบริหารจัดการที่ได้รับการยอมรับและมีส่วนร่วมจากสมาชิก
2. การเสนอใช้สินเชื่อ
   ให้องค์กรผู้เสนอใช้สินเชื่อนำเสนอโครงการเป็นลายลักษณ์อักษรต่อสถาบันโดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของสมาชิก ตั้งแต่การศึกษาสำรวจข้อมูลทางธุรกิจ การวิเคราะห์ข้อมูล การจัดเวทีให้มีส่วนร่วมในการทำความเข้าใจและตัดสินใจของสมาชิกองค์กร การจัดให้มีการร่วมลงทุนจากสมาชิกและองค์กร การจัดให้มีระบบบริหารจัดการโครงการ รวมถึงการจัดให้มีการร่วมพัฒนาโครงการจากกลไกท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีข้อมูลสำคัญในโครงการที่ต้องนำเสนอดังต่อไปนี้
          1. ข้อมูลพื้นฐานองค์กรผู้เสนอใช้สินเชื่อ
          2. โครงสร้างและระบบการบริหารจัดการขององค์กรผู้เสนอใช้สินเชื่อและของโครงการธุรกิจ
          3. รายละเอียดการลงทุนและแผนการดำเนินการธุรกิจ
          4. แผนและประมาณการทางการเงิน
          5. หลักการจัดสรรประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินงาน
          6. รายงานฐานะการเงินย้อนหลังอย่างน้อย 1 ปี
          7. ข้อคิดเห็นของกลไกท้องถิ่นที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการ
          8. ข้อมูลหรือเอกสารอื่นใดที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาสินเชื่อ

3. การพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ
                1. วัตถุประสงค์และความเป็นไปได้ของโครงการที่เสนอใช้สินเชื่อ
         
2. ความสามารถในการบริหารจัดการโครงการ
                3
. คุณสมบัติขององค์กรผู้เสนอใช้สินเชื่อ
                4
. ความสามารถในการบริหารจัดการองค์กรผู้เสนอใช้สินเชื่อ
                5
. ประโยชน์จากการให้สินเชื่อที่เกิดกับการพัฒนาชุมชนและการขยายผลสู่การพัฒนาด้านอื่นๆของชุมชน
                6.
หลักประกันในการใช้สินเชื่อ
         
7. กระบวนการพัฒนาโครงการและการมีส่วนร่วม

4. วงเงินสินเชื่อ
          กำหนดวงเงินสินเชื่อไม่เกินร้อยละ 80 ของ มูลค่ารวมการลงทุนโครงการ โดยวงเงินรวมสูงสุดของสินเชื่อต่อโครงการไม่เกิน 30 ล้าน

5. การชำระคืนสินเชื่อ
                1. ให้มีการชำระคืนเป็นงวดหรือชำระคืนเสร็จสิ้นในครั้งเดียว
                2. ให้มีระยะเวลาการปลดการชำระคืนเงินต้น โดยชำระเฉพาะดอกเบี้ยได้เป็นกรณีๆ
                3.
ระยะเวลาการชำระคืนสูงสุดไม่เกิน 10 ปี

6. หลักประกันของสินเชื่อ
            ให้คณะกรรมการองค์กรผู้สินเชื่อเป็นผู้ค้ำประกันร่วมกันและแทนกันรวมถึงให้มีหลักกันอื่นๆ ดีงนี้
                1. เงินค้ำประกัน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 ของวงเงินทำสัญญา
                2. อสังหาริมทรัพย์
                3. ให้มีระบบร่วมรับผิดชอบโครงการของกลไกที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการตามข้อตกลงของแต่ละภาค
                4. หลักประกันอื่นๆ ตามดุลพินิจของผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติ

โครงสร้างชุมชน

1. ผู้ใหญ่บ้าน

เป็นผู้นำสูงสุดของชุมชน  ซึ่งจะได้รับคำสั่งและนโยบายมา
จากนายอำเภอ  เพื่อที่จะนำมาปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น


2. องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) 

มีหน้าที่ประสานงานกับอบตอื่นเป็นองค์กรที่สำคัญมาก  
เพราะได้เข้ามาพัฒนาหมู่บ้าน


3. ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน  

ทำหน้าที่ประสานงานกับองค์กรต่างๆที่ได้รับมอบหมาย
จากผู้ใหญ่บ้าน


4. กรรมการหมู่บ้าน  

จะทำหน้าที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับนโยบายต่างๆที่ได้ถูกนำเข้ามา


โครงการสินเชื่อ 1 ตำบล 1 SME เกษตรเพื่อสร้างคามยั่งยืนของภาคเกษตรไทย
1. หลักการและเหตุผล
          คณะกรรมการธนาคารในคาวประชุม ครั้งที่ 1/2559 วันที่ 19 มกราคม 2559 ได้เห็นชอบให้ธนาคารปรับปรุงโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อสร้างความยั่งยืนของภาคเกษตรไทย เป็นโครงการสินเชื่อ 1 ตำบล 1 SME เกษตร เพื่อสร้างความยั่งยืนของภาคเกษตรไทย และอนุมัติวงเงินเพิ่มเติมจากเดิม 50,000 ล้านบาท เป็น 72,000 ล้านบาท รวมถึงกำหนดวงเงินกู้ต่อรายสูงสุดไม่เกิน 20 ล้านบาท เพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ที่จะร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาและยกระดับคุณภาพเศรษฐกิจฐานรากของรัฐบาลที่มีนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากไว้ 5 ประการ ดังนี้
          1. สนับสนุนให้ชุมชนมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเช่น โรงสีข้าว ลานตาก ยุ้งฉางชุมชน ศูนย์เครื่องจักรการเกษตร (Machinery Pool) เป็นต้น โดยการสนับสนุนเงินทุนจากภาครัฐผ่านกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
          2. ให้ ธ.ก.ส. และธนาคารออมสิน ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนเกษตรกรก้าวหน้า (Smart Farmer) ยกระดับเป็น SME เกษตร ต้นแบบในทุกตำบล เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในภาคเกษตรและการจ้างงานในชุมชน ผ่านโครงการ 1 ตำบล 1 SME เกษตร
          3. ขอความร่มมือภาคเอกชนให้การช่วยเหลือด้านการตลาดให้แก่เกษตรกร โดยการรับซื้อผลผลิตของเกษตรกรที่ได้มาตรฐาน เพื่อยกระดับการผลิตของเกษตรสู่มาตรฐานสากล โดยบูรณาการทำงานของทุกภาคส่วนผ่านโครงการตลาดประชารัฐเพื่อชุมชน
          4. สนับสนุนให้มีแหล่งท่องเที่ยวในแต่ละตำบล/อำเภอ เพื่อให้เกิดการสร้างงานสร้างอาชีพ เพราะการจับจ่ายใช้สอยของนักท่องเที่ยว จะทำให้เศรษฐกิจในชุมชนดีขึ้น ผ่านโครงการ 1 ตำบล/อำเภอ 1 แหล่งท่องเที่ยว
          5. สร้างโอกาสให้กับชุมชนในการเข้าถึงการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายความเร็วสูง(Internet Broadband) เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของชุมชน และกระตุ้นให้มีการซื้อขายออนไลน์มากยิ่งขึ้น

2. วัตถุประสงค์ของโครงการ
          2.1 เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการภาคเกษตรที่ดีให้มีความเข้มแข็งและเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากไปสู่ความมั่นคง มั่นคั่ง และยั่งยืน
          2.2เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรปรับตัวเป็นผู้ประกอบการภาคเกษตร มีความสามารถในการจัดการธุรกิจด้วยตัเองหรือร่วมกลุ่ม
          2.3เพื่อสนับสนุนนวัตกรรมและการใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร
          2.4 เพื่อก่อให้เกิดการจ้างแรงงานในภาคชนบทเพิ่มมากขึ้น

3.วงเงินสินเชื่อโครงการ
          จำนวน 72,000 ล้านบาท โดยใช้แหล่งเงินทุนของธนาคาร

4.ระยะเวลาดำเนินโครงการ
          ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 3559 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2560

5.1 คุณสมบัติผู้ขอกู้
          กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ภาคการเกษตร เกษตรกร บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลวิสาหกิจชุมชนหรือกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองหรือสถาบันการเงินชุมชน ที่มีคุณสมบัติดังนี้
          1
. ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม SME ที่มีประสบการณ์ในธุรกิจที่ขอกู้หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องและดำเนินธุรกิจดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 รอบปีบัญชีของธุรกิจนั้นและมีผลประกอบการอยู่ในเกณฑ์ดี (มีผลกำไร) รวมถึงมีสถานะการประกอบการอยู่ในประเทศไทยและต้องไม่เป็นการดำเนินธุรกิจที่เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม หรือสร้างภาวะมลพิษ หรือสร้างปัญหาให้ชุมชน
          2. เป็นผู้ประกอบธุรกิจหรือกิจการที่มีวัตถุประสงค์เป็นการส่งเสริมการประกอบธุรกิจของเกษตรกรหรือชุมชน และการพัฒนาผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ของเกษตรกรหรือชุมชนในกระบวนการผลิต การรวบรวม การแปรรูป การตลาดและการบริการ ทั้งนี้ให้รวมถึงผู้ประกอบธุรกิจหรือกิจการที่อยู่ระหว่างการพัฒนาตนเองเพื่อเป็นผู้ประกอบการ SME เกษตร
          3. เป็นผู้ประกอบอาชีพ หรือประกอบธุรกิจหรือกิจการภาคเกษตรหรือที่เกี่ยวเนื่องภาคเกษตร เพื่อสร้างความยั่งยืนของภาคเกษตรไทย และมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตใหม่ หรือรักษาสิ่งแวดล้อม หรือรักษาศิลปวัฒนธรรม หรือพลังงานสะอาด หรือผลิตอาหารปลอดภัย
          4. กรณีเป็นสถาบันการเงินชุมชน ที่กู้เงินเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนในการเป็นทุนให้กู้แก่สมาชิก เพื่อสร้างโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบผ่านตัวกลางที่เหมาะสมแก่เกษตรกรรายย่อยและยากจน

5.2 วัตถุประสงค์ของการกู้ยืม
          เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนหรือค่าลงทุนในการประกอบธุรกิจภาคเกษตรหรือที่เกี่ยวเนื่องภาคเกษตร หรืออยู่ในห่วงโซ่มูลค่าเพิ่ม (Value Chain) ของสินค้าเกษตรหรือที่เกี่ยวเนื่องสินค้าเกษตร หรือที่เป็นลักษณะ OTOP ที่เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนกิจการในห่วงโซ่มูลค่าเพิ่ม (Value Chain) ที่วัตถุประสงค์ในการพัฒนากระบวนการผลิต การรวบรวม การแปรรูป การตลาดและการบริการ รวมถึงกระบวนการต่างๆที่มุ่งสู่เกษตรยังยืนในรูปแบบการผลิตใหม่ หรือรักษาสิ่งแวดล้อม หรือรักษาศิลปวัฒนธรรม หรือพลังงานสะอาดหรือผลิตอาหารปลอดภัย

5.3 กำหนดวงเงินกู้
          วงเงินกู้รายละไม่เกิน 20 ล้านบาท

5.4 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้
          ตั้งแต่ปีที่ 1-7 คืออัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี และตั้งแต่ปีที่ 8 เป็นต้นไป คิดอัตราดอกเบี้ยตามประเภทของลูกค้าผู้กู้แต่ละรายในอัตรา MRR หรือ MLR แล้วแต่กรณี

5.5 กำหนดระยะเลาชำระหนี้เงินกู้
          5.5.1 กรณีขอกู้เงินเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนตามข้อ กำหนดระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ให้แล้วเสร็จไม่เกิน 12 เดือนนับแต่วันกู้
          5.5.2 กรณีขอกู้เงินเป็นค่าลงทุนตามข้อกำหนดระยะเวลาชำระคืนเงินกู้เป็นรายเดือนหรือรายไตรมาสหรือราย 6 เดือน หรือรายปี ให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้และที่มาแห่งรายได้ของผู้กู้และกำหนดให้ชำระคืนเสร็จสิ้นไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันกู้ กรณีมีเหตุจำเป็นให้ปลอดการชำระต้นเงินได้ไม่เกิน 3 ปีแรก

5.6 หลักประกันเงินกู้
          5.6.1 ให้ใช้หลักประกันหนี้เงินกู้เป็นไปตามข้อบังคับและวิธีปฏิบัติปกติของธนาคารเป็นลำดับแรก
          5.6.2. กรณีมีเหตุอันควรผ่อนผัน กรณีใช้ที่ดินหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจำนองเป็นประกัน ให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 100 ของงเงินจดทะเบียนจำนอง
          5.6.3. กรณีใช้บุคคล 2 คนขึ้นไป ค้ำประกันหนี้เงินกู้ ให้กู้ได้ไม่เกิน 300,000 บาท
          5.6.4 กรณีใช้บุคคลรับรองผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกัน ให้กู้ได้ไม่เกิน 300,000 บาท
          5.6.5 ใข้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ค้ำประกันสินเชื่อตามโครงการได้

สถาบันการเงินรัฐบาล
กระบวนการการให้สินเชื่อรัฐบาล
1. ต้องศึกษาธุรกิจว่าน่าสนใจและเป็นประโยชน์แก่ประชาชนหรือไม่
2. การเลือกกลุ่มเป้าหมาย
3. การรวบรวมข้อมูลของวัตถุประสงค์การในการขอสินเชื่อ ข้อมูลที่เกี่ยวกับอดีต ปัจจุบันและอนาคต ของธนาคารที่ขอสินเชื่อกับรัฐบาล
4. การพิจารณาหลักประกัน โดยจะต้องมีงบทาการเงินของธนาคารนั้นๆในการขออนุมัติโครงการ
5. การวิเคราะห์เพื่อประเมินความเสี่ยง โดยจะต้องมีการวิเคราะห์ว่าโครงการมีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด มีความเสี่ยงในด้านไหนบ้าง
6. การนำเสนอเครดิต เป็นการแยกแยะความเสี่ยงว่าความเสี่ยงแต่ละด้านมีความเสี่ยงในด้านไหน และจะต้องหาวิธีป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ว่าจะต้องรับมือกับความเสี่ยงนั้นๆอย่างไร
7. การจัดให้มีเอกสารประกอบโครงการหรือสินเชื่อ เป็นการดำเนินเกี่ยวกับกฎหมายที่บังคับใช้อย่างไรบ้าง
8. การดูแล และทบทวนความเสี่ยงของโครงการหรือสินเชื่อ เป็นการปล่อยโครงการหรือสินเชื่อให้กับธนาคาร ลูกค้า จะต้องมีการดูแลและมีการทบทวนความเสี่ยงของโครงการ

โครงสร้าง
          รัฐในการจัดการตั้งเเต่กำหนดโครงการหรือกระบวนการต่างๆ ในการออกสินเชื่อผ่านโครงการ

โครงการ : บ้านล้านหลัง
หน่วยงานกำกับดูแล : กระทรวงการคลัง
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อซื้อที่ดินพร้อมอาคาร หรือห้องชุด
                  2. เพื่อปลูกสร้างอาคาร หรือเพื่อซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างอาคาร
                  3. เพื่อปลูกสร้างอาคารบนที่ดินของรัฐ
                  4. เพื่อซื้ออาคารหรือห้องชุดบนที่ดินของรัฐ
                 
5. เพื่อซื้ออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวเนื่องเพื่อประโยชน์ในการอยู่อาศัย พร้อมกับวัตถุประสงค์ซื้อที่ดินพร้อมอาคาร หรือห้องชุด
คุณสมบัติ : ประชาชนทั่วไปที่มีความต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในราคาซื้อขายไม่เกิน 1,000,000 บาทต่อหน่วย โดยมุ่งเน้นกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ กลุ่มคนวัยทำงานหรือประชาชนที่กำลังเริ่มต้นสร้างครอบครัว รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุ
ระยะเวลาการกู้ยืม : ระยะเวลาการกู้ ไม่น้อยกว่า 7 ปี และไม่เกิน 40 ปี อายุผู้กู้รวมกับระยะเวลาที่ขอกู้ต้องไม่เกิน 70 ปี
ดอกเบี้ย/เดือน : (1) กรณีรายได้ต่อเดือนต่อคนไม่เกิน 25,000 บาท ได้รับสิทธิฟรีค่าธรรมเนียม ดังนี้ ค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ (0.1% ของวงเงินกู้) ประเมินราคาหลักประกัน (1,900 - 2,300 บาท)
ค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม (1,000 บาทต่อราย)ค่าจดทะเบียนนิติกรรมจำนอง (1% ของวงเงินจำนอง)
                     (2) กรณีรายได้ต่อเดือนต่อคนเกิน 25,000 บาท ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ จัดเก็บตามระเบียบปฏิบัติงานสินเชื่อ


          





 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น