ข่าวสถาบันการเงินชุมชนเเละรัฐบาล

ไทยรัฐ

ข่าวสัปดาห์ที่ 1 : นายกรัฐมนตรี มอบสินเชื่อให้ลูกค้าในโครงการบ้านล้านหลัง

นายกรัฐมนตรี มอบสินเชื่อให้ลูกค้าในโครงการบ้านล้านหลัง

          พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มอบวงเงินสินเชื่อบ้านให้แก่ประชาชน 20 รายแรก ที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อจากธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) รายละไม่เกิน 1 ล้านบาท ใน "โครงการบ้านล้านหลัง" ภายใต้วงเงินรวม 50,000 ล้านบาท ซึ่ง ธอส. จัดทำขึ้นเพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาลที่ต้องการช่วยเหลือให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยหลังเปิดให้ยื่นกู้ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2562 ล่าสุด ณ วันที่ 28 มกราคม 2562 มีลูกค้ายื่นคำขอกู้รวมกว่า 1,700 ราย วงเงินกู้รวม 1,100 ล้านบาท และอนุมัติแล้วทั้งสิ้น 950 ราย วงเงินกู้ 630 ล้านบาท
          วันนี้ (29 มกราคม 2562) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบวงเงินสินเชื่อบ้าน ให้ลูกค้า 20 รายแรก วงเงินอนุมัติรายละไม่เกิน 1 ล้านบาท ตาม "โครงการบ้านล้านหลัง" โครงการที่รัฐทำให้ประชาชน ภายใต้กรอบวงเงินรวม 50,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาลที่ต้องการช่วยเหลือ ให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยมุ่งเน้นกลุ่มผู้มีรายได้น้อย กลุ่มคนวัยทำงานหรือผู้ที่กำลังเริ่มต้นสร้างครอบครัว รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุ โดยมีนายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธอส.ร่วมเป็นสักขีพยาน โดยภายหลังจากธนาคารเปิดให้ผู้จองสิทธิสินเชื่อในกลุ่ม 59,000 ล้านบาทแรก จากทั้งหมด 127,000 ล้านบาท ที่ได้จองสิทธิสินเชื่อเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2561 ได้เริ่มยื่นคำขอกู้กับธนาคารได้ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2562 ล่าสุด ณ วันที่ 28 มกราคม 2562 หรือ เพียง 19 วันทำการ พบว่ามีลูกค้าประชาชนทยอยเดินทางเข้ามาติดต่อยื่นคำขอกู้รวมแล้วกว่า 1,700 ราย วงเงินกู้รวม 1,100 ล้านบาท และธนาคารได้อนุมัติสินเชื่อให้ลูกค้าได้มีบ้านในฝันเป็นของตนเองได้แล้วทั้งสิ้น 950 ราย วงเงินกู้ 630 ล้านบาท โดย ธอส. ยืนยันว่าพร้อมให้โอกาสแก่ประชาชนทุกคน ที่จองสิทธิสินเชื่อได้ยื่นคำขอกู้ตามระยะเวลาที่ธนาคารกำหนด หรือหากยังไม่มีความพร้อมโดยเฉพาะในเรื่องเอกสารหลักฐานที่แสดงรายได้ของตนเองสามารถเข้ามาติดต่อที่ธนาคารเพื่อขอคำแนะนำกับเจ้าหน้าสินเชื่อได้โดยตรง หรือเข้าร่วมโครงการ ธอส.โรงเรียนการเงิน เพื่อจัดทำประวัติการออมให้สม่ำเสมอไม่น้อยกว่าเงินงวด ผ่อนชำระเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 9 เดือน ก็จะสามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานที่มาของรายได้เพื่อประกอบการยื่นกู้ได้เช่นกัน
            ทั้งนี้ โครงการบ้านล้านหลัง กำหนดอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายย่อย ให้กู้เพื่อซื้อ หรือปลูกสร้างที่อยู่อาศัย และซื้ออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวเนื่องกับที่อยู่อาศัย ราคาไม่เกิน 1 ล้านบาท ผ่อนชำระได้นานสูงสุด 40 ปี อัตราดอกเบี้ย แบ่งเป็น กรณีรายได้ไม่เกิน 25,000 บาท/คน/เดือน อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1 – ปีที่ 5 คงที่ 3.00% ต่อปี กรณีกู้ 1 ล้านบาท ผ่อนชำระ 5 ปีแรก เริ่มต้นเพียง 3,800 บาท พร้อมฟรีค่าธรรมเนียม (4 ฟรี) ได้แก่ 1.ฟรีค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ 2.ฟรีค่าประเมินราคาหลักประกัน 3.ฟรีค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม และ 4.ฟรีค่าจดทะเบียนนิติกรรมจำนอง (1% ของวงเงินจำนอง) กรณีรายได้เกิน 25,000 บาท/คน/เดือน อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1- ปีที่ 3 คงที่ 3.00% ต่อปี เงินกู้ 1 ล้านบาท ผ่อนชำระ 3 ปีแรกเริ่มต้นเพียง 3,800 บาท เช่นกัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์

สรุปข่าว : 

       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบวงเงินสินเชื่อบ้าน ให้ลูกค้า 20 รายแรก วงเงินอนุมัติรายละไม่เกิน 1 ล้านบาท ตาม "โครงการบ้านล้านหลัง" โครงการที่รัฐทำให้ประชาชน ภายใต้กรอบวงเงินรวม 50,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาลที่ต้องการช่วยเหลือ ให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยมุ่งเน้นกลุ่มผู้มีรายได้น้อย กลุ่มคนวัยทำงานหรือผู้ที่กำลังเริ่มต้นสร้างครอบครัว รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุ โดยมีนายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธอส.ร่วมเป็นสักขีพยาน โดยภายหลังจากธนาคารเปิดให้ผู้จองสิทธิสินเชื่อในกลุ่ม 59,000 ล้านบาทแรก จากทั้งหมด 127,000 ล้านบาท ที่ได้จองสิทธิสินเชื่อเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2561 ได้เริ่มยื่นคำขอกู้กับธนาคารได้ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2562 ล่าสุด ณ วันที่ 28 มกราคม 2562 หรือ เพียง 19 วันทำการ พบว่ามีลูกค้าประชาชนทยอยเดินทางเข้ามาติดต่อยื่นคำขอกู้รวมแล้วกว่า 1,700 ราย วงเงินกู้รวม 1,100 ล้านบาท และธนาคารได้อนุมัติสินเชื่อให้ลูกค้าได้มีบ้านในฝันเป็นของตนเองได้แล้วทั้งสิ้น 950 ราย วงเงินกู้ 630 ล้านบาท โดย ธอส. ยืนยันว่าพร้อมให้โอกาสแก่ประชาชนทุกคน ที่จองสิทธิสินเชื่อได้ยื่นคำขอกู้ตามระยะเวลาที่ธนาคารกำหนด หรือหากยังไม่มีความพร้อมโดยเฉพาะในเรื่องเอกสารหลักฐานที่แสดงรายได้ของตนเองสามารถเข้ามาติดต่อที่ธนาคารเพื่อขอคำแนะนำกับเจ้าหน้าสินเชื่อได้โดยตรง หรือเข้าร่วมโครงการ ธอส.โรงเรียนการเงิน เพื่อจัดทำประวัติการออมให้สม่ำเสมอไม่น้อยกว่าเงินงวด ผ่อนชำระเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 9 เดือน ก็จะสามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานที่มาของรายได้เพื่อประกอบการยื่นกู้ได้

วิเคราะห์ข่าว :

          สินเชื่อจากธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เป็น "โครงการบ้านล้านหลัง" โครงการที่รัฐทำให้ประชาชน ภายใต้กรอบวงเงินรวม 50,000 ล้านบาท ซึ่งมีลูกค้ายื่นคำขอกู้รวมกว่า 1,700 ราย วงเงินกู้รวม 1,100 ล้านบาท และอนุมัติแล้วทั้งสิ้น 950 ราย วงเงินกู้ 630 ล้านบาท ตอนนี้ได้มอบวงเงินสินเชื่อไปแล้ว 20 ราย
          จุดประสงค์ของโครงการบ้านล้านหลัง คือ รัฐบาลต้องการช่วยเหลือประชาชนให้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยมุ่งเน้นกลุ่มผู้มีรายได้น้อย กลุ่มคนวัยทำงานหรือผู้ที่กำลังเริ่มต้นสร้างครอบครัว รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุ
        ข้อจำกัดในการให้สินเชื่อบ้าน
              - ซื้อสิ่งปลูกสร้างที่อยู่อาศัย อุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวเนื่องกับที่อยู่อาศัย ราคาไม่เกิน 1 ล้านบาท ผ่อนชำระได้นานสูงสุด 40 ปี
              - อัตราดอกเบี้ย
                กรณีรายได้ไม่เกิน 25,000 บาท/คน/เดือน อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1 – ปีที่ 5 คงที่ 3.00% ต่อปี กรณีกู้ 1 ล้านบาท ผ่อนชำระ 5 ปีแรก เริ่มต้นเพียง 3,800 บาท พร้อมฟรีค่าธรรมเนียม (4 ฟรี) ได้แก่ 1.ฟรีค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ 2.ฟรีค่าประเมินราคาหลักประกัน 3.ฟรีค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม และ 4.ฟรีค่าจดทะเบียนนิติกรรมจำนอง (1% ของวงเงินจำนอง)
                กรณีรายได้เกิน 25,000 บาท/คน/เดือน อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1- ปีที่ 3 คงที่ 3.00% ต่อปี เงินกู้ 1 ล้านบาท ผ่อนชำระ 3 ปีแรกเริ่มต้นเพียง 3,800 บาท

URL : https://www.ryt9.com/si/prg/2946665
ผู้จัดทำ : เจนจิรา มูลศรี รหัส 5911011804057

ข่าวสัปดาห์ที่ 2 : ธ.ก.ส. เสนอสินเชื่อ พัฒนาอาชีพแก้หนี้เกษตรกรล้านราย



        การประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 9 ม.ค. นี้ กระทรวงการคลัง จะเสนอมาตรการสวัสดิการรัฐ ระยะที่ 2 สำหรับผู้ลงทะเบียนรายได้น้อย โดยจะเน้นช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย 5 ล้านคน ที่มีรายได้ต่ำกว่าปีละ 30,000 บาท และในส่วนนี้เป็นเกษตรกร 3 ล้านคน
        ในส่วนของเกษตรกรนี้ นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. จะเสนอ ครม.พิจารณามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้มีรายได้น้อย เพื่อเพิ่มรายได้และแก้ปัญหานี้ ให้กับเกษตรกรที่มีรายได้น้อย จะครอบคลุมการพัฒนาตัวเองของเกษตรกร เช่น การให้ความรู้ทางการเงิน การทำแผนพัฒนาอาชีพรายบุคคล นอกจากนี้ จะมีสินเชื่อเพื่อการพัฒนาอาชีพเสริมรายได้ 2 วงเงิน รวม 65,000 ล้านบาท คือ สินเชื่อชุมชนปรับเปลี่ยนการผลิตเพื่อพัฒนาอาชีพของผู้มีรายได้น้อย และสินเชื่อพัฒนาอาชีพของผู้มีรายได้น้อยที่ลงทะเบียนสวัสดิการรัฐ จะมีเกษตรกรที่ได้รับสินเชื่อ 784,000 คน
        ส่วนมาตรการ ลดภาระหนี้สินทั้งในระบบและนอกระบบ จะมีสินเชื่อรวม 30,000 ล้านบาท ช่วยแก้ปัญหาหนี้ให้กับเกษตรกร 550,000 ราย เป็นโครงการการแก้ไขหนี้นอกระบบของเกษตรกรและบุคคลในครัวเรือน โครงการสินเชื่อรายย่อยเพื่อใช้จ่ายฉุกเฉิน และโครงการสินเชื่อกองทุนหมู่บ้าน และสถาบันการเงินชุมชนเพื่อป้องกันและแก้ไขหนี้นอกระบบ
         ผู้จัดการ ธ.ก.ส.บอกว่า ผลการดำเนินการงานปีบัญชี 2560 ให้สินเชื่อเข้าสู่ระบบ เพื่อสนับสนุนภาคเกษตร ผ่านผู้ประกอบการและเกษตรกรรายย่อยได้ 438,000 ล้านบาท ส่งผลให้ยอดสินเชื่อคงเหลือเพิ่มเป็น 1.3 ล้านล้านบาท และคาดว่าปีบัญชี 2561 ยอดสินเชื่อคงเหลือจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1.74 ล้านล้านบาทในขณะที่หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ เอ็ยพีแอล อยู่ 5.54% ของสินเชื่อรวม และมีแนวโน้มลดลง

สรุปข่าว : 

         คณะรัฐมนตรี เสนอมาตรการสวัสดิการรัฐ ระยะที่ 2 สำหรับผู้ลงทะเบียนรายได้น้อย 5 ล้านคน ที่มีรายได้ต่ำกว่าปีละ 30,000 บาทกับเกษตรกร 3 ล้านคน นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. ช่วยเหลือในส่วนของการเพิ่มรายได้ รวมทั้งครอบคลุมการพัฒนาตัวเองของของเกษตรกร เช่น การให้ความรู้ทางการเงิน การทำแผนพัฒนาอาชีพรายบุคคล นอกจากนี้ จะมีสินเชื่อเพื่อการพัฒนาอาชีพและมีการให้สินเชื่อในการช่วยเหลือ คือ (1) สินเชื่อเพื่อการพัฒนาอาชีพเสริมรายได้ 2 วงเงิน รวม 65,000 ล้านบาท คือ สินเชื่อชุมชนปรับเปลี่ยนการผลิตเพื่อพัฒนาอาชีพของผู้มีรายได้น้อย และสินเชื่อพัฒนาอาชีพของผู้มีรายได้น้อยที่ลงทะเบียนสวัสดิการรัฐ จะมีเกษตรกรที่ได้รับสินเชื่อ 784,000 คน (2) เป็นการจัดตั้งโครงการ เพื่อลดภาระหนี้สินทั้งในระบบและนอกระบบจะมีสินเชื่อรวม 30,000 ล้านบาท ช่วยแก้ปัญหาหนี้ให้กับเกษตรกร 550,000 ราย  เพื่อป้องกันและแก้ไขหนี้นอกระบบ

วิเคราะห์ข่าว : 

     สินเชื่อส่วนนี้เกิดจาก คณะรัฐมนตรี เสนอมาตรการสวัสดิการรัฐ ระยะที่ 2 สำหรับผู้ลงทะเบียนรายได้น้อย 5 ล้านคน ที่มีรายได้ต่ำกว่าปีละ 30,000 บาทและเกษตรกร 3 ล้านคน คือ
      (1) สินเชื่อเพื่อการพัฒนาอาชีพเสริมรายได้ 2 วงเงิน รวม 65,000 ล้านบาท เป็นส่วนช่วยในเรื่องของสินเชื่อชุมชนปรับเปลี่ยนการผลิตเพื่อพัฒนาอาชีพของผู้มีรายได้น้อย และสินเชื่อพัฒนาอาชีพของผู้มีรายได้น้อยที่ลงทะเบียนสวัสดิการรัฐ
      (2) การผ่านการจัดตั้งโครงการได้แก่ โครงการการแก้ไขหนี้นอกระบบของเกษตรกรและบุคคลในครัวเรือน โครงการสินเชื่อรายย่อยเพื่อใช้จ่ายฉุกเฉิน และโครงการสินเชื่อกองทุนหมู่บ้าน และสถาบันการเงินชุมชนเพื่อป้องกันและแก้ไขหนี้นอกระบบ โดยมีสินเชื่อรวม 30,000 ล้านบาท ช่วยแก้ปัญหาหนี้ให้กับเกษตรกร 550,000 ราย

URL : ประชาชาติธุรกิจ
ผู้จัดทำ : แพรวพลอย เมืองงาม รหัส 5911011804059


ข่าวสัปดาห์ที่ 3 : การตรวจเยี่ยมการดำเนินงานแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบโดยองค์กรการเงินชุมชน ณ จังหวัดชุมพร


title


นายพรชัย  ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ศาตราจารย์ ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการคลัง นายสุวิชญ โรจนวานิช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และนายสมภพ  รอดกลาง ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบโดยองค์กรการเงินชุมชน ณ ศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ธ.ก.ส. บ้านพะงุ้น (ศูนย์เรียนรู้ฯ) ตำบลครน อำเภอสวี จังหวัดชุมพร ซึ่งในอดีตสมาชิกในชุมชนมีปัญหาหนี้นอกระบบและหนี้ในระบบ เนื่องจากพื้นที่ทำกินถูกน้ำท่วมทุกปี การประกอบอาชีพจึงไม่ต่อเนื่องและมีรายได้ไม่สม่ำเสมอ ส่งผลให้มีครัวเรือนที่ยากจนและไม่ผ่านเกณฑ์ จปฐ. จำนวนหนึ่ง ดังนั้นผู้นำชุมชนจึงได้มุ่งมั่นประกอบอาชีพเสริม เช่น ปลูกผักพื้นบ้านและเลี้ยงหมูหลุม ปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จัดทำบัญชีครัวเรือน และจัดตั้งกลุ่มการเงินในชุมชน (กลุ่มออมทรัพย์และกลุ่มออมวันละบาท) เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนเสริมสำหรับใช้ประกอบอาชีพ จนปัจจุบันสมาชิกในชุมชนพะงุ้นมีรายได้จากการประกอบอาชีพเสริม เฉลี่ยครัวเรือนละ 6,500 บาทต่อเดือน ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ จปฐ. และไม่มีปัญหาหนี้นอกระบบ
ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้ให้เกียรติเป็นประธานเปิด “โรงเรียนธนาคารต้นไม้บ้านพะงุ้น” ซึ่งเป็นโรงเรียนธนาคารต้นไม้แห่งแรกของประเทศไทย โดย ธ.ก.ส. ได้เข้าไปส่งเสริมให้ชาวชุมชนพะงุ้นปลูกต้นไม้ในที่ดินของตนแล้วนำมาขึ้นทะเบียนต้นไม้ไว้กับธนาคารต้นไม้ โดยจะมีการประเมินมูลค่าต้นไม้แต่ละชนิดเพื่อใช้เป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงินกับสถาบันการเงินชุมชนในเครือข่ายของ ธ.ก.ส. หรือจาก ธ.ก.ส. ได้ในอนาคต นอกจากนี้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังยังได้มอบสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือเกษตรและกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ ประกอบด้วย สินเชื่อรายย่อยเพื่อใช้จ่ายฉุกเฉิน 5 ราย สินเชื่อเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของเกษตรและบุคคลในครัวเรือน 1 ราย และสินเชื่อยกระดับปรับเปลี่ยนการผลิตเพื่อพัฒนาอาชีพผู้มีรายได้น้อย (XYZ) 1 กลุ่ม  ทั้งนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังได้กล่าวเน้นย้ำถึงเจตนารมย์ของรัฐบาลซึ่งได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประชาชน โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบและการแก้ไขปัญหาความยากจนผ่านมาตรการต่าง ๆ เช่น การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการและยั่งยืน บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มาตการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และถุงเงินประชารัฐ เป็นต้น รวมถึงได้มอบหมายให้ ธ.ก.ส. และธนาคารออมสินเร่งสร้างชุมชนทั่วประเทศให้มีความเข้มแข็งในด้านการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบและการพัฒนาอาชีพเสริม ผ่านการสนับสนุนความรู้และผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่เหมาะสม และมอบหมายให้ ธ.ก.ส. ขยายผลโครงการธนาคารต้นไม้ให้แพร่หลายเนื่องจากสามารถสร้างประโยชน์ที่ยั่งยืนต่อชุมชนจากการมีต้นไม้เป็นหลักประกันสินเชื่อและเป็นเงินออมรูปแบบใหม่ ซึ่งการอาศัยกลไกชุมชนและองค์กรการเงินชุมชนเข้ามามีบทบาทร่วมกับภาครัฐจะช่วยสนับสนุนนโยบายการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาลและการยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้มีรายได้น้อยให้เกิดผลอย่างครอบคลุมทั่วถึง มีประสิทธิภาพ และยั่งยืน
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยังได้มอบหมายให้ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการคลังตรวจเยี่ยมการดำเนินงานด้านการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบโดยองค์กรการเงินชุมชนของธนาคารออมสิน จำนวน 2 กิจกรรม ประกอบด้วย (1) กิจกรรมการตรวจเยี่ยมสถาบันการเงินชุมชนบางหมาก ตำบลบางหมาก อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร ซึ่งเป็นสถาบันการเงินชุมชนต้นแบบที่มีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีกลไกในการช่วยเหลือสมาชิกแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดยธนาคารออมสินได้เข้าไปเป็นพี่เลี้ยงในการสนับสนุนเพิ่มเติมองค์ความรู้ต่าง ๆ รวมทั้งให้สินเชื่อแก่กลุ่มเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานและแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ซึ่งปัจจุบันสถาบันฯ สามารถช่วยเหลือสมาชิกแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบไปแล้ว 50 ราย เป็นเงิน 2.45 ล้านบาท และ (2) การประชุมเชิงปฏิบัติการพร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เรื่อง การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบโดยองค์กรการเงินชุมชน ณ โรงแรมชุมพรการ์เดนส์ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร โดยมีผู้แทนองค์กรการเงินชุมชนในเครือข่ายของธนาคารออมสินในเขตจังหวัดชุมพรและจังหวัดใกล้เคียง จำนวน 15 แห่ง เข้าร่วมระดมความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิควิธีการ ความสำเร็จ และปัญหาอุปสรรคของการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบในชุมชนของตน เพื่อพัฒนาแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบโดยองค์กรการเงินชุมชนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อ

สรุปข่าว :
                นายพรชัย  ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ศาตราจารย์ ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการคลัง นายสุวิชญ โรจนวานิช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และนายสมภพ  รอดกลาง ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบโดยองค์กรการเงินชุมชน ณ ศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ธ.ก.ส. บ้านพะงุ้น (ศูนย์เรียนรู้ฯ) ตำบลครน อำเภอสวี จังหวัดชุมพร ในอดีตสมาชิกในชุมชนมีปัญหาหนี้นอกระบบและหนี้ในระบบ ส่งผลให้มีครัวเรือนที่ยากจนและไม่ผ่านเกณฑ์ จปฐ. จำนวนหนึ่งทำให้ผู้นำชุมชนจึงได้มุ่งมั่นประกอบอาชีพเสริม และจัดตั้งกลุ่มการเงินในชุมชน (กลุ่มออมทรัพย์และกลุ่มออมวันละบาท) ปัจจุบันสมาชิกในชุมชนพะงุ้นมีรายได้จากการประกอบอาชีพเสริม เฉลี่ยครัวเรือนละ
6,500 บาทต่อเดือน ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ จปฐ. และไม่มีปัญหาหนี้นอกระบบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้ให้เกียรติเป็นประธานเปิด “โรงเรียนธนาคารต้นไม้บ้านพะงุ้น” ซึ่งเป็นโรงเรียนธนาคารต้นไม้แห่งแรกของประเทศไทยและยังได้มอบสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือเกษตรและกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ ประกอบด้วย สินเชื่อรายย่อยเพื่อใช้จ่ายฉุกเฉิน 5 ราย สินเชื่อเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของเกษตรและบุคคลในครัวเรือน 1 ราย และสินเชื่อยกระดับปรับเปลี่ยนการผลิตเพื่อพัฒนาอาชีพผู้มีรายได้น้อย (XYZ) 1 กลุ่ม และได้เน้นย้ำถึงเจตนารมย์ของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประชาชนในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบและการแก้ไขปัญหาความยากจนผ่านมาตรการต่าง ๆ เช่น การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการและยั่งยืน   
                                                                                                                                                                             
วิเคราะห์ข่าว :
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยังได้มอบหมายให้ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการคลังตรวจเยี่ยมการดำเนินงานด้านการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบโดยองค์กรการเงินชุมชนของธนาคารออมสิน จำนวน 2 กิจกรรม                                                          
(1) กิจกรรมการตรวจเยี่ยมสถาบันการเงินชุมชนบางหมาก ตำบลบางหมาก อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร มีกลไกในการช่วยเหลือสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ รวมทั้งให้สินเชื่อแก่กลุ่มเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานและแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ปัจจุบันสถาบันฯสามารถช่วยเหลือสมาชิกไปแล้ว 50 ราย เป็นเงิน 2.45 ล้านบาท       
(2) การประชุมเชิงปฏิบัติการพร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เรื่อง การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบโดยองค์กรการเงินชุมชน ณ โรงแรมชุมพรการ์เดนส์ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร โดยมีผู้แทนองค์กรการเงินชุมชนในเครือข่ายของธนาคารออมสินในเขตจังหวัดชุมพรและจังหวัดใกล้เคียง จำนวน 15 แห่ง ที่เข้าร่วมระดมความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิควิธีการ การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบในชุมชนของตนเอง

URL :  รัฐบาลไทย
ผู้จัดทำ : จุฬารักษ์ ภักดีอุดม รหัส 5911011804063

ข่าวสัปดาห์ที่ 4 :  พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในงาน มหกรรมการแสดงผลการดำเนินงานโครงการตามแนวทางประชารัฐของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
     
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
            เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2562 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในงานมหกรรมแสดงผลการดำเนินงานโครงการตามแนวทางประชารัฐของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ที่ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี พร้อมด้วยพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีสมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯทั่วประเทศร่วมงานกว่า 18,000 คน ภายในงานมีการจัดกิจกรรมการมอบรางวัลให้กับโครงการของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ตามแนวทางประชารัฐซึ่งได้มีการคัดเลือกจากแต่ละจังหวัดแล้วยังมีการจัดกิจกรรมในรูปแบบของนิทรรศการของโครงการตัวอย่างที่คัดเลือกมาจากแต่ละจังหวัด และการนำเสนอแนวทางการดำเนินงานของหน่วยภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินงานสำหรับเป็นบทเรียนแห่งการเรียนรู้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้กับสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง     
             ตลอดระยะเวลาเกือบ 3 ปี สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติได้สนับสนุนกิจกรรมการดำเนินงานต่าง ๆ ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จึงก่อให้เกิดการขับเคลื่อนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองกว่า 70,000 กองทุน จัดทำและดำเนินโครงการตามแนวทางประชารัฐดังกล่าวกว่า 200,000 โครงการ ก่อให้เกิดประโยชน์หลายมิติ เช่น ทำให้เกิดร้านค้าชุมชน ไม่น้อยกว่า 250,000 ร้านค้าทั่วประเทศ  เกิดโครงการน้ำดื่มชุมชนไม่น้อยกว่า 10,000 โครงการ โครงการส่งเสริมการเกษตร       ไม่น้อยกว่า 56,000 โครงการ โครงการบริการเพื่ออุปโภค-บริโภค ไม่น้อยกว่า 45,000 โครงการ โครงการผลิตภัณฑ์ประชารัฐ    ไม่น้อยกว่า 37,000 โครงการ และโครงการตลาดประชารัฐไม่น้อยกว่า 2,900 โครงการ

             พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  กล่าวว่ารัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญ ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในการขับเคลื่อนของการต่างๆช่วยแก้ปัญหาความยากจนรวมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างยั่งยืนโดยรัฐบาลมีความเชื่อมั่นและวางใจว่ากองทุนหมู่บ้านฯจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ การลดความเหลื่อมล้ำและสร้างโอกาสในการสร้างงานสร้างอาชีพและสร้างรายได้เป็นอย่างดี

สรุปข่าว :   
       เป็นงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการตามแนวทางประชารัฐของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ตลอดระยะเวลาเกือบ 3 ปี ที่สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติได้สนับสนุนกิจกรรมการดำเนินงานต่าง ๆ จึงก่อให้เกิดการขับเคลื่อนกว่า 70,000 กองทุน จัดทำและดำเนินโครงการตามแนวทางประชารัฐกว่า 200,000 โครงการ ซึ่งเป็นประโยชน์หลายมิติ เช่น 
- ทำให้เกิดร้านค้าชุมชน    250,000 ร้านค้า 
- เกิดโครงการน้ำดื่มชุมชน  10,000 โครงการ 
- โครงการส่งเสริมการเกษตร  56,000 โครงการ 
- โครงการบริการเพื่ออุปโภค-บริโภค  45,000 โครงการ
- โครงการผลิตภัณฑ์ประชารัฐ 37,000 โครงการ 
- โครงการตลาดประชารัฐ   2,900 โครงการ

วิเคราะ์ข่าว : 
     กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เป็นกองทุนทีจัดตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ไข้ปัญหาความยากจนของกลุ่มคนในสังคม 
จะเห็นได้ว่า ตลอดระยะเวลาเกือบ 3 ปีนี้ สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติได้สนับสนุนกิจกรรมการดำเนินงานต่าง ๆ ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จึงทำให้การขยายกองทุนมากยิ่งขึ้น และยกระดับ คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนได้ดีขึ้น โดยรัฐบาลก็ได้ให้ความสำคัญ เนื่องจาก กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษกิจ และประเทศชาติ หากกลุ่มคนเกษตกร คนในชุมชน หรือในหมู่บ้าน ได้รับความลำบากในการสร้างรายได้แน่นอนว่าประเทศไทยของเราจะต้องประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจอย่างแน่นอน


ผู้จัดทำ : เขมมิสรา เเสงบุญเรือง รหัส 5911011804067



ข่าวสัปดาห์ที่ 5 : ปล่อยกู้ให้กองทุนหมู่บ้าน แก้ปัญหาหนี้นอกระบบ

นายสุรพงศ์ นิลพันธุ์ รอง ผจก.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ทาง ธ.ก.ส. ได้เตรียมวงเงินสนับสนุนสินเชื่อ ให้กับกองทุนหมู่บ้านและสถาบันการเงินชุมชน เพิ่มเติมจำนวน 1 พันล้านบาท เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของสมาชิก 
ทั้งนี้ นอกจากการสนับสนุนสินเชื่อแล้ว ยังได้นำองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ เช่น การบริหารจัดการกลุ่ม การพัฒนาศักยภาพด้วยระบบโปรแกรมงานด้านบัญชี พร้อมพัฒนาผู้นำกองทุนหมู่บ้านเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน เพื่อให้คำปรึกษาและดูแลสุขภาพทางการเงิน แก่สมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ ด้วย
“ธนาคารได้เข้าไปร่วมสนับสนุนการดำเนินงาน ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองตั้งแต่ ปี 2544 จนถึงปัจจุบัน ธ.ก.ส.ได้ดูแลให้การสนับสนุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จำนวน 3.36 หมื่นกองทุน จากกองทุนหมู่บ้านทั่วประเทศ 7.95 หมื่นกองทุน ทั้งการให้บริการด้านเงินฝาก และการให้บริการด้านสินเชื่อ ซึ่งได้ดำเนินการหลายโครงการ อาทิ โครงการสินเชื่อให้แก่ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เพื่อเป็นทุนให้กู้แก่สมาชิกกองทุนหมู่บ้าน โครงการสนับสนุนสินเชื่อกองทุนหมู่บ้าน และสถาบันการเงินชุมชน เพื่อแก้ไขและป้องกันปัญหาหนี้นอกระบบของสมาชิก เป็นต้น รวมวงเงินกว่า 4.09 หมื่นล้านบาท”
สำหรับ สินเชื่อเพื่อแก้ไขหนี้นอกระบบ ระยะที่ 3 มีวงเงิน 1.9 หมื่นล้านบาท กำหนดกลุ่มเป้าหมาย 3 แสนราย ให้วงเงินกู้ต่อรายไม่เกิน 1 แสนบาท อัตราดอกเบี้ย 3% โดยในส่วนของโครงการกองทุนหมู่ บ้าน มีสนับสนุนสินเชื่อกองทุนหมู่บ้านและสถาบันการเงินชุมชน เพื่อแก้ไขและป้องกันปัญหาหนี้นอกระบบ 1 พันแห่ง ซึ่งสมาชิกมีหนี้นอกระบบหรือมีค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน และจำเป็นในครัวเรือน 5 หมื่นราย โดยตั้งวงเงินกู้รวมวงเงินให้กู้รวมไม่เกิน 1 พันล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2561 ถึงวันที่ 31 มี.ค.2563 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับลูกค้าชั้นดี (เอ็มแอลอาร์)                                                                                                                                                                                                                   
สรุปข่าว
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ทาง ธ.ก.ส. ได้เตรียมวงเงินสนับสนุนสินเชื่อ ให้กับกองทุนหมู่บ้านและสถาบันการเงินชุมชน เพิ่มเติมจำนวน 1 พันล้านบาท เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของสมาชิก สำหรับ สินเชื่อเพื่อแก้ไขหนี้นอกระบบ ระยะที่ 3 มีวงเงิน 1.9 หมื่นล้านบาท กำหนดกลุ่มเป้าหมาย 3 แสนราย ให้วงเงินกู้ต่อรายไม่เกิน 1 แสนบาท อัตราดอกเบี้ย 3% โดยในส่วนของโครงการกองทุนหมู่ บ้าน มีสนับสนุนสินเชื่อกองทุนหมู่บ้านและสถาบันการเงินชุมชน เพื่อแก้ไขและป้องกันปัญหาหนี้นอกระบบ 1 พันแห่ง
                                                                                                                                                       
วิเคราะห์ข่าว :
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เตรียมวงเงินสนับสนุนสินเชื่อ ให้กับกองทุนหมู่บ้านและสถาบันการเงินชุมชน เพิ่มเติมจำนวน 1 พันล้านบาท โดยการผ่านโครงในการแก้ไขหนี้นอกระบบ คือ โครงการสนับสนุนสินเชื่อกองทุนหมู่บ้าน และสถาบันการเงินชุมชน รวมวงเงินกว่า 4.09 หมื่นล้านบาท ได้เเก่
สินเชื่อเพื่อแก้ไขหนี้นอกระบบ ระยะที่ 3 มีวงเงิน 1.9 หมื่นล้านบาท กำหนดกลุ่มเป้าหมาย 3 แสนราย ให้วงเงินกู้ต่อรายไม่เกิน 1 แสนบาท อัตราดอกเบี้ย 3%
- สินเชื่อเพื่อแก้ไขสมาชิกหนี้นอกระบบ หรือมีค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน และจำเป็นในครัวเรือน 5 หมื่นราย โดยตั้งวงเงินกู้รวมวงเงินให้กู้รวมไม่เกิน 1 พันล้านบาท

URL : เชียงใหม่นิวส์
ผู้จัดทำ : นางสาวอภิญญา บุญเรือง รหัส 5911011804070

ข่าวสัปดาห์ที่ 6 : สินเชื่อโตหลังคนแห่ซื้อบ้าน-รถใหม่


นายสมชาย เลิศลาภวศิน ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ปี 61 ว่า สินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปีก่อน โดยขยายตัวเพิ่มขึ้น 6% จาก 4.4% ในช่วงปี 60 ซึ่งสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่ปรับดีขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ในปี 62 คาดว่า สินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์โดยรวมจะขยายตัวเพิ่มขึ้น 6-7% จากปีก่อนหน้า โดยมาจากสินเชื่อที่ต่อเนื่องจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ และการลงทุนเพิ่มของภาคเอกชน ขณะที่หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) จะยังทรงตัวในระดับใกล้เคียงกับปี 61 ไม่ลดลงเร็วอย่างที่คาด

ทั้งนี้ การขยายตัวที่เพิ่มขึ้นมาจากสินเชื่ออุปโภคบริโภคในทุกประเภทสินเชื่อ ซึ่งสอดคล้องกับการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวดี ขณะที่สินเชื่อธุรกิจที่ขยายตัวดีขึ้น จากการใช้สินเชื่อเพิ่มขึ้นของธุรกิจขนาดใหญ่และผู้ประกอบการขนาดกลางขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่วงเงินค่อนข้างสูง โดยสินเชื่อธุรกิจโดยรวมในปี 61 ขยายตัวเพิ่มขึ้น 4.4% จากสินเชื่อภาคบริการขนาดใหญ่ในธุรกิจที่พักแรม ซึ่งเป็นการขอสินเชื่อเพื่อซื้อกิจการเครือโรงแรมในต่างประเทศรวมทั้งการขยายตัวของสินเชื่อในภาคพาณิชย์ และอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่สินเชื่อเอสเอ็มอีขยายตัวเพิ่ม 4.5%
สำหรับสินเชื่ออุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อนสูงถึง 9.4% จาก 3 ภาคหลัก 1.สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่ขยายตัวสูงต่อเนื่อง และเร่งตัวขึ้นในไตรมาสสุดท้ายของปีเพื่อให้ทันก่อนมาตรการเพิ่มการเงินวางดาวน์จะบังคับใช้ในเดือน เม.ย.นี้ 2.สินเชื่อรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นตามยอดขายรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น หลังสิ้นสุดมาตรการรถยนต์คันแรก และ 3.สินเชื่อส่วนบุคคลทุกประเภท เช่น สินเชื่อส่วนบุคคลที่มีบ้านเป็นหลักประกัน สินเชื่อทะเบียนรถ และสินเชื่อสวัสดิการ
ด้านคุณภาพสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นปี 61 สัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้อยู่ที่ 2.93% ของสินเชื่อรวม ใกล้เคียงกับปีก่อนที่ 2.91% โดยมียอดคงค้างที่เป็นเอ็นพีแอล  443,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อน 14,000 ล้านบาท สะท้อนภาพรวมคุณภาพสินเชื่อที่เริ่มทรงตัว แต่ในด้านเสถียรภาพ ระบบธนาคารพาณิชย์มีเงินสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญอยู่ในระดับสูงที่ 668,000 ล้านบาท ส่งผลให้สัดส่วนเงินสำรองที่มีต่อเงินสำรองพึงกันเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 193.3% ขณะที่ในด้านฐานะการเงินในปี 61 ระบบธนาคารพาณิชย์มีกำไรสุทธิ 207,200 ล้านบาท.

สรุปข่าว :
     การดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ปี 61 ว่า สินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปีก่อน โดยขยายตัวเพิ่มขึ้น 6% จาก 4.4%  สินเชื่อธุรกิจโดยรวมในปี 61 ขยายตัวเพิ่มขึ้น 4.4% จากสินเชื่อภาคบริการขนาดใหญ่ในธุรกิจที่พักแรม ซึ่งเป็นการขอสินเชื่อเพื่อซื้อกิจการเครือโรงแรมในต่างประเทศรวมทั้งการขยายตัวของสินเชื่อในภาคพาณิชย์ และอสังหาริมทรัพย์ สินเชื่ออุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อนสูงถึง 9.4% สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่ขยายตัวสูงต่อเนื่อง และเร่งตัวขึ้นในไตรมาส สินเชื่อรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นตามยอดขายรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น หลังสิ้นสุดมาตรการรถยนต์คันแรก สินเชื่อส่วนบุคคลทุกประเภท เช่น สินเชื่อส่วนบุคคลที่มีบ้านเป็นหลักประกัน สินเชื่อทะเบียนรถ และสินเชื่อสวัสดิการ

วิเคราะห์ข่าว :
สินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ ในปี 61 สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ได้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภาพรวมคุณภาพสินเชื่อที่เริ่มทรงตัว แต่ในด้านเสถียรภาพ ระบบธนาคารพาณิชย์มีเงินสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญอยู่ในระดับสูงที่ 668,000 ล้านบาท โดยสาเหตุหลักมาจาก
1.สินเชื่อภาคบริการขนาดใหญ่ในธุรกิจที่พักแรม ซึ่งเป็นการขอสินเชื่อเพื่อซื้อกิจการเครือโรงแรมในต่างประเทศ
2.สินเชื่ออุปโภคบริโภค    
        - สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย 
        - สินเชื่อรถยนต์
        - .สินเชื่อส่วนบุคคลทุกประเภท เช่น สินเชื่อส่วนบุคคลที่มีบ้านเป็นหลักประกัน

URL : ไทยรัฐ
ผู้จัดทำ : นางสาวศุภลักษณ์  แซ่ก้วน รหัส 5911011804076


ข่าวสัปดาห์ที่ 7: ธ.ก.ส.ดัน 9 สถาบันการเงินชุมชน คัดกรองแก้หนี้รากหญ้า-ตรวจหลักประกัน



ธ.ก.ส.ตั้งเป้า 6 เดือนหลัง ยกระดับสถาบันการเงินชุมชน 9 แห่ง รองรับกฎหมายใหม่คลอด หนุนเป็นตัวแทนธนาคารช่วยคัดกรองลูกค้า-แก้หนี้-ตรวจสอบหลักประกันกู้เงิน ฟันธงสินเชื่อปีนี้เข้าเป้า 86,000 หมื่นล้านบาท นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ในช่วงครึ่งหลังของปีบัญชี 2560/2561 นี้ (ต.ค. 60-มี.ค. 61) ธ.ก.ส.มีแผนยกระดับสถาบันการเงินชุมชน เพื่อรองรับพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สถาบันการเงินชุมชนที่จะมีผลบังคับใช้ในเร็ว ๆ นี้ โดยขณะนี้ได้ให้ ธ.ก.ส.ทั้ง 9 ภาค คัดเลือกสถาบันการเงินชุมชนขึ้นมาภาคละ 1 แห่ง เพื่อนำร่อง ซึ่งสถาบันการเงินชุมชนเหล่านี้นอกจากจะทำหน้าที่ตาม พ.ร.บ.สถาบันการเงินชุมชนแล้ว ยังจะทำหน้าที่เป็นตัวแทนของ ธ.ก.ส.ในการทำกิจกรรม/ธุรกรรมต่างๆ ตอนนี้กำลังคุยกันว่า กิจกรรมที่สถาบันการเงินชุมชนจะทำได้แทน ธ.ก.ส. จะมีอะไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น บริหารจัดการหนี้แทนธนาคาร โดยจะให้สถาบันการเงินชุมชนที่พร้อมทดลองบริหารจัดการหนี้แทนธนาคารในช่วง 6 เดือนหลังนี้ ขณะเดียวกันก็ให้มีบทบาทกลั่นกรองลูกค้าแทนธนาคาร หรือการตรวจสอบหลักประกันเงินกู้ เป็นต้น 
ขณะเดียวกันในช่วง 6 เดือนหลัง ธ.ก.ส.ยังมีแผนผลักดันส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนให้เป็นกลไกหลักในการจำหน่ายสินค้าชุมชน เพื่อให้ชุมชนเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งขณะนี้มีรายชื่อชุมชนเป้าหมายทั่วประเทศ 77 แห่งแล้ว แต่จะนำร่องประมาณ 30 ชุมชนก่อนในปีบัญชีนี้ ทั้งนี้ ธนาคารกำลังเตรียมการยกระดับส่วนงานที่ตั้งขึ้นมาก่อนหน้านี้ ขึ้นมาเป็นสำนักท่องเที่ยวชุมชน เพื่อทำเรื่องนี้ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
นายอภิรมย์กล่าวว่า ปีบัญชี 2560/2561 นี้ ธ.ก.ส.ตั้งเป้าการเติบโตของสินเชื่อไว้ที่ 86,000 ล้านบาท ซึ่งน่าจะเป็นไปได้ตามเป้าหมาย โดยธนาคารได้มีการแยกกลุ่มลูกค้าสินเชื่อไว้ด้วยกัน 3 กลุ่ม แบ่งเป็น กลุ่มแรก การสนับสนุนสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการด้านการเกษตร ซึ่งตั้งเป้าปีนี้จะขยายสินเชื่อส่วนนี้เพิ่มขึ้น 45,500 ล้านบาท ส่วนกลุ่มที่ 2 จะเป็นการยกระดับเกษตรกรขึ้นเป็นสมาร์ทฟาร์เมอร์ โดยตั้งเป้าขยายสินเชื่อ 30,000 ล้านบาท และส่วนที่เหลือเป็นกลุ่มที่ 3 เกษตรกรรายย่อย (small) ซึ่งในส่วนนี้จะเป็นเรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ
ทั้งนี้ สำหรับการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบนั้น ภายในเดือน พ.ย.นี้ จะมีการเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอเพิ่มวงเงินสินเชื่อฉุกเฉินอีก 5,000 ล้านบาท หลังจากวงเงินที่เคยได้รับอนุมัติมาแล้ว 5,000 ล้านบาท ใกล้เต็มวงเงิน นายอภิรมย์กล่าวด้วยว่า หลังจากช่วง 6 เดือนแรก (เม.ย.-ก.ย. 60) ธ.ก.ส.จ่ายสินเชื่อเข้าสู่ภาคเกษตรไปแล้ว 316,000 ล้านบาท ขณะที่ในช่วง 6 เดือนหลัง (ต.ค. 60-มี.ค. 61) จะมีการจ่ายสินเชื่ออีก 480,000 ล้านบาท ครึ่งปีหลังจะมีทั้งสินเชื่อเพื่อการผลิตและสินเชื่อสถาบัน อาทิ สินเชื่อเพื่อเข้าไปดูแลมันสำปะหลัง 1.8 หมื่นล้านบาท สินเชื่อที่เกี่ยวกับการจัดการเรื่องข้าว 1.25 หมื่นล้านบาท สินเชื่อข้าวโพดอีก 1,500 ล้านบาท เป็นต้น ซึ่งทั้งปีบัญชี 2560/2561 นี้ เราตั้งเป้าสินเชื่อโต 7% ก็คาดว่าจะเป็นไปตามเป้าหมาย 
นายอภิรมย์กล่าวรายงานจากกระทรวงการคลังระบุว่า ร่าง พ.ร.บ.สถาบันการเงินชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อรับรององค์กรการเงินชุมชนให้มีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย โดยจะกำหนดให้องค์กรการเงินชุมชนมีหน้าที่ในการบริหารจัดการและรับผิดชอบเงินของสมาชิกเอง โดยมีธนาคารผู้ประสานงานสนับสนุนด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และไม่มีบทบัญญัติให้หน่วยงานรัฐหรือธนาคารผู้ประสานงานมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารจัดการเงินของประชาชน หรือกำหนดให้องค์กรการเงินชุมชนต้องแบ่งปันกำไรหรือนำส่งเงินให้กับหน่วยงานของรัฐแต่อย่างใด นอกจากนี้ องค์กรการเงินชุมชนจะได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมจากธนาคารผู้ประสานงาน ไม่ว่าจะเป็นในด้านของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการให้บริการทางการเงินขององค์กรการเงินชุมชน การตรวจสอบด้านการบริหารจัดการและการบริหารความเสี่ยงเพื่อรักษาผลประโยชน์ของสมาชิก และการสนับสนุนทางการเงินเพื่อส่งเสริมและพัฒนาระบบองค์กรการเงินชุมชน ซึ่งจะช่วยสร้างความยั่งยืนในการดำเนินงานให้แก่องค์กรการเงินชุมชนอย่างมีเสถียรภาพ

สรุปข่าว :
ธ.ก.ส.ตั้งเป้า 6 เดือนหลัง ยกระดับสถาบันการเงินชุมชน 9 แห่ง รองรับกฎหมายใหม่เพื่อ
เป็นตัวแทนธนาคารช่วยคัดกรองลูกค้า-แก้หนี้-ตรวจสอบหลักประกันกู้เงิน นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) แผนยกระดับสถาบันการเงินชุมชน เพื่อรองรับพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สถาบันการเงินชุมชนที่จะมีผลบังคับใช้ในเร็ว ๆ นี้ โดยขณะนี้ได้ให้ ธ.ก.ส.ทั้ง 9 ภาค คัดเลือกสถาบันการเงินชุมชนขึ้นมาภาคละ 1 แห่ง เพื่อนำร่อง ซึ่งสถาบันการเงินชุมชนเหล่านี้นอกจากจะทำหน้าที่ตาม พ.ร.บ.สถาบันการเงินชุมชนและทำหน้าที่เป็นตัวแทนของ ธ.ก.ส.ในการทำกิจกรรม/ธุรกรรมต่างๆ และในช่วง 6 เดือนหลัง ธ.ก.ส.ยังมีแผนผลักดันส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนให้เป็นกลไกหลักในการจำหน่ายสินค้าชุมชน เพื่อให้ชุมชนเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งขณะนี้มีรายชื่อชุมชนเป้าหมายทั่วประเทศ 77 แห่งแล้ว แต่จะนำร่องประมาณ 30 ชุมชนก่อนในปีบัญชีนี้ และธนาคารกำลังเตรียมการยกระดับส่วนงานที่ตั้งขึ้นมาก่อนหน้านี้ ขึ้นมาเป็นสำนักท่องเที่ยวชุมชน เพื่อทำเรื่องนี้ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น

วิเคราะห์ข่าว :
ธ.ก.ส.ตั้งเป้า ยกระดับสถาบันการเงินชุมชน 9 แห่ง รองรับกฎหมายใหม่เพื่อให้ธนาคารช่วยคัดกรองลูกค้า-แก้หนี้-ตรวจสอบหลักประกันกู้เงิน โดยขณะนี้ได้ให้ ธ.ก.ส.ทั้ง 9 ภาค คัดเลือกสถาบันการเงินชุมชนขึ้นมาภาคละ 1 แห่ง เพื่อนำร่อ และในอีก 6 เดือนหลัง ธ.ก.ส.ยังมีแผนผลักดันส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนให้เป็นกลไกหลักในการจำหน่ายสินค้าชุมชน เพื่อให้ชุมชนเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ในขณะนี้มีรายชื่อชุมชนเป้าหมายทั่วประเทศ 77 แห่ง แล้วแต่จะนำร่องประมาณ 30 ชุมชนก่อนในปีบัญชีนี้ ในปีบัญชี 2560/2561 นี้
ธ.ก.ส.ตั้งเป้าการเติบโตของสินเชื่อไว้ที่ 86,000 ล้านบาท ซึ่งน่าจะเป็นไปได้ตามเป้าหมาย โดยธนาคารได้มีการแยกกลุ่มลูกค้าสินเชื่อไว้ด้วยกัน 3 กลุ่ม 
กลุ่มที่ 1 คือ การสนับสนุนสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการด้านการเกษตร ซึ่งตั้งเป้าปีนี้จะขยายสินเชื่อส่วนนี้เพิ่มขึ้น 45,500 ล้านบาท 
กลุ่มที่ 2 คือ จะเป็นการยกระดับเกษตรกรขึ้นเป็นสมาร์ทฟาร์เมอร์ โดยตั้งเป้าขยายสินเชื่อ 30,000 ล้านบาท 
กลุ่มที่ 3 คือ เกษตรกรรายย่อย (small) ซึ่งในส่วนนี้จะเป็นเรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ

URL : ประชาชาติธุรกิจ
ผู้จัดทำ : นางสาวเจนจิรา มูลศรี รหัส 5911011804057

ข่าวสัปดาห์ที่ 8 : ผนึกกำลัง ไทยช่วยไทย ช่วยผู้ประสบภัยพายุ “ปาบึก”


title

หนึ่งในหลายมาตรการที่รัฐบาลให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยจากพายุโซนร้อนปาบึก ซึ่งถูกเคาะในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีสัปดาห์นี้ คือ มาตรการทางภาษี และมาตรการทางการเงิน

4 มาตรการภาษี

1. หักลดหย่อนภาษีสำหรับการบริจาคเงินหรือทรัพย์สินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย

ผู้บริจาคที่เป็น บุคคลธรรมดา หักภาษีได้เท่าจำนวนที่บริจาค แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้สุทธิ
ผู้บริจาคที่เป็น บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หักภาษีได้เท่าจำนวนที่บริจาค แต่ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ

2. ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับบริจาค

ผู้ประสบอุทกภัยที่ได้รับเงินชดเชยจากรัฐบาล เงินบริจาค และทรัพย์สินบริจาค ไม่ต้องนำจำนวนเงินหรือทรัพย์สินไปคำนวณเป็นเงินได้ หรือ พูดง่าย ๆ ว่า เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับบริจาคไม่ต้องนำไปคำนวณเพื่อเสียภาษี

3. ยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมอสังหาริมทรัพย์ ในพื้นที่ที่ราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ที่ประสบภัยจากพายุโซนร้อนปาบึก

ผู้ประสบภัยได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เท่ากับค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปเพื่อซ่อมแซมหรือเป็นค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุด ระหว่างวันที่ 3 มกราคม - 31 มีนาคม 2562 ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน 100,000 บาท

4. ยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมรถ ในพื้นที่ที่ราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ที่ประสบภัยจากพายุโซนร้อนปาบึก

ผู้ประสบภัยได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เท่ากับค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปเพื่อซ่อมแซมหรือเป็นค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถ ระหว่างวันที่ 3 มกราคม - 31 มีนาคม 2562 ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน 30,000 บาท

19 มาตรการทางการเงิน

สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (SFIs) 7 แห่ง ออกมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ดังนี้

1. ธนาคารออมสิน 1 มาตรการ
1) พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย เป็นระยะเวลา 3 เดือน

2. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 2 มาตรการ
1) ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ตามความหนักเบาของผู้ประสบภัย
2) ให้สินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉินและฟื้นฟูการประกอบอาชีพ

3. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) 6 มาตรการ
1) ลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกหนี้ที่หลักประกันได้รับความเสียหาย เหลือ 0% ต่อปี เป็นระยะเวลา 4 เดือน
2) ให้สินเชื่อเพื่อซ่อมแซมหรือทดแทนอาคารเดิม สำหรับลูกค้าใหม่หรือลูกหนี้ของ ธอส. ที่หลักประกันได้รับความเสียหาย วงเงินกู้ไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อราย อัตราดอกเบี้ย 3% ต่อปี เป็นระยะเวลา 3 ปี
3) ประนอมหนี้ สำหรับลูกหนี้ที่หลักประกันได้รับความเสียหายและกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ โดยมีระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี 4 เดือน โดย 4 เดือนแรก อัตราดอกเบี้ย 0% ต่อปี และเดือนที่ 5 – 16 อัตราดอกเบี้ย 1% ต่อปี
4) ประนอมหนี้ สำหรับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบด้านรายได้ โดยมีระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี อัตราดอกเบี้ย 1% ต่อปี
5) กรณีลูกหนี้เสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวร จะคิดอัตราดอกเบี้ย 0.01% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา
6) กรณีที่อยู่อาศัยของลูกหนี้ได้รับความเสียหายทั้งหลัง ให้ปลอดหนี้ในส่วนของอาคาร และให้ผ่อนชำระต่อในส่วนของที่ดินที่คงเหลือเท่านั้น

4. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) 2 มาตรการ
1) พักชำระหนี้ เงินต้นและดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ยืมแบบมีระยะเวลา (Term Loan) เป็นระยะเวลา 6 เดือน และพักชำระหนี้ดอกเบี้ยสำหรับสัญญาเบิกเงินทุนหมุนเวียนประเภทตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note : P/N) เป็นระยะเวลา 6 เดือน
2) ให้สินเชื่อฉุกเฉินเพื่อฟื้นฟูกิจการ ไม่เกิน 2 ล้านบาท ระยะเวลากู้สูงสุดไม่เกิน 5 ปี โดยปลอดชำระคืนเงินต้น ไม่เกิน 1 ปีแรก และคิดอัตราดอกเบี้ย 0.415% ต่อเดือน ตลอดอายุสัญญา และลูกหนี้สามารถให้ บสย. ค้ำประกันสินเชื่อได้

5. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) 3 มาตรการ
1) พักชำระหนี้เงินต้นและกำไรเป็นระยะเวลา 3 เดือน และพักชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 36 เดือน
2) ให้วงเงินสินเชื่อเพิ่มเติมตามความจำเป็น อัตรากำไร SPRR – 3.5% ต่อปี หรือ SPRL – 2.75% ต่อปี ระยะเวลา 5 ปี และยกเว้นค่าการประเมินราคาหลักประกันและจดจำนอง
3) ให้สินเชื่อฉุกเฉินเพื่อพี่น้องมุสลิม วงเงินไม่เกิน 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ย SPRR – 3.5% ต่อปี ไม่มีค่าธรรมเนียม และไม่ต้องมีหลักประกัน

6. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) 3 มาตรการ ได้แก่
1) พักชำระหนี้ เงินต้นและดอกเบี้ย เป็นเวลา 6 เดือน
2) ลดดอกเบี้ยลง 1% ต่อปี เป็นเวลา 6 – 12 เดือน โดยพิจารณาตามความรุนแรงหรือผลกระทบที่ลูกค้าได้รับ
3) ให้เงินกู้เพื่อซื้อ/ซ่อมแซมเครื่องจักร/อาคารโรงงานที่ได้รับความเสียหาย ระยะเวลา 5 ปี ปลอดชำระเงินต้นไม่เกิน 1 ปี อัตราดอกเบี้ย 5% ต่อปี ในปีแรก

7. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) 2 มาตรการ
1) ขยายเวลาชำระค่าธรรมเนียมค้ำประกันเป็น 6 เดือน สำหรับลูกค้าปัจจุบันที่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมต่ออายุค้ำประกันสินเชื่อ
2) ค้ำประกันสินเชื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ไม่เกินรายละ 5 ล้านบาท และค่าธรรมเนียมการค้ำประกัน 0% เป็นเวลาสูงสุด 2 ปี โดยร่วมกับธนาคารพันธมิตรต่าง ๆ

รัฐบาลมุ่งหวังว่าการช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามหลักเกณฑ์ปกติของทางราชการ น้ำใจของคนไทยทั้งประเทศที่ร่วมบริจาคเงินและทรัพย์สิน และมาตรการพิเศษของรัฐบาล จะช่วยบรรเทาความเดือดร้องของผู้ประสบภัย และฟื้นฟูความเสียหายให้กลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็วที่สุด

สรุปข่าว :
รัฐบาลให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยจากพายุโซนร้อนปาบึก โดยมีการออกมาตรการ 2 มาตรการคือมาตรการทางภาษีและมาตรการทางการเงิน
มาตรการทางภาษี
(1) หักลดหย่อนภาษีสำหรับการบริจาคเงินหรือทรัพย์สินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย
(2) ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับบริจาค
(3) ยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่ที่ราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ที่ประสบภัยจากพายุโซนร้อนปาบึก โดยรวมทั้งหมดไม่เกิน 100,000 บาท
(4) ยกเว้นสำหรับค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมรถในพื้นที่ที่ราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ที่ประสบภัยจากพายุโซนร้อนปาบึก โดยรวมไม่เกิน 30,000 บาท
มาตรการทางการเงิน
สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (SFIs) 7 แห่ง โดยมีธนาคาร 7 แห่งดังนี้ (1) ธนาคารออมสิน (2) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (3) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (4) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (5) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (6) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย (7) บริษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม โดยส่วนใหญ่จะเป็นการออกมาตรการที่เกี่ยวกับผู้ที่มีการเอาสินเชื่อกับธนาคารแต่ละแห่งอยู่ โดยช่วยเหลือ คือ การออกมาตรการการพักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยเป็นระยะ 3 เดือนหรือ 6 เดือน และยังมีการออกสินเชื่อ เพื่อช่วยในส่วนของการประสบภัยโดยเฉพาะ ที่เกี่ยวกับบ้านหรือการประกอบอาชีพ รวมไปถึงการลดอัตราดอกเบี้ยลงด้วย

วิเคราะห์ข่าว : 
รัฐบาลให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยจากพายุโซนร้อนปาบึก ส่วนของการให้สินเชื่อช่วยเหลือ เป็นการผ่านมาตรการทางการเงินของรัฐบาลที่ได้ความร่วมมือจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ 7 แห่ง (บางแห่งมีการออกสินเชื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากพายุโซนร้อนปาบึกโดยเฉพาะ) คือ
- ธนาคารอาคารสงเคราะห์ มีการให้สินเชื่อเพื่อซ่อมแซมหรือทดแทนอาคารเดิมสำหรับลูกค้าใหม่หรือลูกหนี้ของ ธอส. ที่มีหลักประกันได้รับความเสียหาย วงเงินกู้ไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อรายอัตราดอกเบี้ย 3% ตอนปี เป็นระยะเวลา 3 ปี
- ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย มีการให้สินเชื่อฉุกเฉินเพื่อฟื้นฟูกิจการไม่เกิน 2 ล้านบาท ระยะเวลากู้สูงสุดไม่เกิน 5 ปี โดยโปรดชำระคืนเงินต้นไม่เกินหนึ่งปีแรกและคิดอัตราดอกเบี้ย 0.415 % ต่อเดือน ตลอดอายุสัญญาและลูกหนี้สามารถใช้ บสย.(บรรษัทประกันสินเชื่ออุสาหกรรมสินเชื่อขนาดย่อย) ค้ำประกันสินเชื่อได้
- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย มีการให้สินเชื่อฉุกเฉินเพื่อพี่น้องมุสลิม วงเงินไม่เกิน 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ย SMRR - 3.5% ต่อปีไม่มีค่าธรรมเนียม และไม่ต้องมีหลักประกัน
- ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย มีการให้เงินกู้เพื่อซื้อหรือซ่อมแซมเครื่องจักรหรืออาคารโรงงานที่ได้รับความเสียหายระยะเวลา 5 ปี ปลดชำระเงินต้นไม่เกิน 1 ปี อัตราดอกเบี้ย 5% ต่อปี ในปีแรก

URL : รัฐบาลไทย
ผู้จัดทำ : นางสาวแพรวพลอย เมืองงาม รหัส 5911011804059



ข่าวสัปดาห์ที่ 9 : ผุดสถาบันการเงินชุมชนแก้หนี้นอกระบบ "ออมสิน" โดดอุ้มรากหญ้า
ผุดสถาบันการเงินชุมชนแก้หนี้นอกระบบ "ออมสิน" โดดอุ้มรากหญ้า












"เลอศักดิ์" จัดทัพแบงก์ออมสินครั้งใหญ่ สั่งเดินหน้าดูแลประชาชนรากหญ้าทั่วประเทศ ตั้งเป้า 3 ปี สร้างสถาบันการเงินชุมชน  30,000 แห่ง ผุดหมอหนี้ 60,000 คน กรุยทางสู่ไมโครไฟแนนซ์

นายเลอศักดิ์ จุลเทศ ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ในอีก 3 ปีข้างหน้า หรือปี 2555 ธนาคารออมสินจะสร้างสถาบันการเงินชุมชนเพิ่มขึ้น 30,000 แห่ง หรือ 30,000 หมู่บ้าน และจะมีหมอหนี้ 60,000 คน ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและแนะนำชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลให้รู้จักการออม การลงทุน และการใช้เงินกู้เพื่อประกอบอาชีพอย่างถูกต้อง เพื่อยกระดับรากหญ้า ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีฐานะยากจนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ

"ปัจจุบันธนาคารออมสินมีสำนักงานสาขาเต็มรูปแบบ 680 สาขา และหน่วยบริการอีก 150 สาขา โดยแต่ละปีมีเป้าหมายที่จะเพิ่มสำนักงานสาขาเต็มรูปแบบ 100 แห่ง เพื่อตอบโจทย์ของการเป็นสถาบันการออมของประเทศ เนื่องจากบทบาทและหน้าที่ของสำนักงานสาขาของออมสินไม่เหมือนกับธนาคารเอกชน เพราะมีลักษณะที่พิเศษกว่า คือ การเป็นพี่เลี้ยงให้แก่สถาบันการเงินชุมชน"

นายเลอศักดิ์ กล่าวว่า เมื่อปี 2545 ธนาคารออมสินได้รับมอบหมายจากรัฐบาล ซึ่งในสมัยนั้นเป็นแหล่งเงินทุนให้แก่กองทุนหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 1 ล้านบาท จำนวน 63,000 หมู่บ้าน จากทั้งหมด 79,000 หมู่บ้าน จากวันที่เริ่มต้นครั้งแรกจนถึงปัจจุบัน ธนาคารออมสินได้พัฒนาและเฝ้าติดตามหมู่บ้านที่ธนาคารรับผิดชอบผ่านสำนักงานสาขาทั่วประเทศ ทำให้ผมมองเห็นประโยชน์ของการมีกองทุนหมู่บ้านที่มีความเข้มแข็ง และที่สำคัญ พบว่าผู้นำชาวบ้านธรรมดาๆ ที่ไม่มีความรู้เรื่องการเงินเลย แต่สามารถปล่อยกู้กับคนในชุมชนของตนเองได้ โดยไม่มีหนี้เสียเลย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสังคมและชุมชนที่เข้มแข็งสามารถดูแลตัวเองได้ เพียงแต่ต้องมีพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำ เพื่อชี้ให้เห็นถึงข้อดีข้อเสียของการใช้จ่ายเงินที่ไม่ถูกต้อง เช่น ซื้อโทรศัพท์มือถือ เล่นหวย เล่นการพนัน

เดือน พ.ย.ที่ผ่านมา ธนาคารได้เปิดสำนักงานสาขาที่ จ.กาฬสินธุ์ 1 สาขา ทำให้ธนาคารออมสินมีสำนักงานสาขาใน จ.กาฬสินธุ์ รวมเป็น 6 แห่ง แต่ไม่น่าเชื่อว่ามีชาวบ้านนับร้อยๆคนมารอ  และขอให้ธนาคารออมสินเปิดสำนักงานสาขาให้ครบทั้ง  18 อำเภอ โดยผู้นำชาวบ้านได้จัดหาสถานที่ตั้งสำนักงานสาขาไว้ให้

"ผมตั้งเป้าว่าจะเพิ่มจำนวนสำนักงานสาขาให้ได้ปีละ 100 แห่ง เพื่อให้ในอนาคตธนาคารออมสินจะได้มีสำนักงานสาขาตั้งอยู่ทุกอำเภอ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้สะดวกรวดเร็วไม่ต้องไปกู้ยืมเงินนอกระบบ ซึ่งถือเป็นงานที่ท้าทายมาก  แต่ต้องทำให้ได้  เพราะการมีสำนักงานสาขาทุกอำเภอทั่วประเทศ เท่ากับเป็นการเชื่อมโยงภาระหน้าที่ของธนาคารออมสินในการเป็นพี่เลี้ยงให้แก่ กองทุนหมู่บ้านที่จะยกระดับเป็นสถาบันการเงินชุมชน"

นอกจากนี้ ยังนำชาวบ้านธรรมดามาฝึกอบรมให้กลายเป็นหมอหนี้อีกหมู่บ้านละ 2 คน โดยจะใช้ระยะเวลาในการฝึกอบรม 2 วันเต็ม ซึ่งปัจจุบันธนาคารออมสินได้สร้างหมอหนี้ไปแล้ว 10,000 คน และมีสถาบันการเงินชุมชนมากกว่า 2,100 แห่ง โดยแต่ละแห่งจะได้รับมอบคอมพิวเตอร์ฟรีเครื่องละ 25,000 บาท พร้อมโปรแกรมธุรกรรมการเงินที่คัดย่อลง เพื่อให้เหมาะกับสภาพความเป็นจริง โดยปีนี้ ธนาคารออมสินได้ใช้เงินซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์มอบให้หมู่บ้านหลายสิบล้านบาท และปีหน้าอีกกว่า 70 ล้านบาท

สำหรับสิ่งที่ธนาคารออมสินกำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ผมเรียกว่า "ไมโครไฟแนนซ์" ไม่ใช่ "ไมโครเครดิต" เพราะจุดเริ่มต้นของธนาคารออมสิน เกิดจากความต้องการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ทั้งในเรื่องของการฝากเงินและสินเชื่อที่ต่อยอดมาจากกองทุนหมู่บ้านที่ต้องการประกอบอาชีพของประชาชน แต่ "ไมโครเครดิต" ของกรามีนแบงก์ ในประเทศบังกลาเทศ เกิดจากความต้องการสินเชื่อเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินของประชาชน ซึ่งจุดเริ่มต้นที่มีความแตกต่างกัน ทำให้ธนาคารออมสินมีอัตราการขยายตัวของสถาบันการเงินในชุมชนเร็วมาก เพียงแค่ปีเดียวมีสถาบันการเงินชุมชนมากกว่า 2,100 แห่ง ขณะที่ 4 ปี กรามีนแบงก์ มีสาขาเพียงแค่ 2,226 แห่ง 
นายเลอศักดิ์กล่าวอีกว่า สิ่งที่กำลังทำอยู่ในขณะนี้ เพราะต้องการให้ออมสินเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เพื่อมุ่งสู่การฉลองครบรอบปีที่ 99 ในปี 2555 ในฐานะของสถาบันการออมที่ดูแลรายย่อยได้อย่างทั่วถึง โดยมีสถาบันการเงินชุมชนกระจายไปอยู่ทุกซอกทุกมุมของประเทศ ธนาคารออมสินจะปล่อยเงินกู้ผ่านกองทุนหมู่บ้านในอัตราดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์ลบ 1 ซึ่งปัจจุบันเอ็มแอลอาร์ของธนาคารอยู่ที่ 6% ต่อปี หรือเท่ากับอัตราดอกเบี้ย 5% ต่อปี จากนั้นกองทุนหมู่บ้านก็จะนำเงินไปปล่อยกู้ต่อให้แก่ สมาชิกอีกทอด สำหรับอัตราดอกเบี้ยที่กองทุนหมู่บ้านคิดจากสมาชิกจะอยู่ที่ 8-9% ต่อปี ซึ่งเป็นระดับที่ชาวบ้านรับได้ เพราะยังต่ำกว่าดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบ.

สรุป :
     ปัจจุบันธนาคารออมสินมีสำนักงานสาขาเต็มรูปแบบ 680 สาขา และหน่วยบริการอีก 150 สาขา โดยแต่ละปีมีเป้าหมายที่จะเพิ่มสำนักงานสาขาเต็มรูปแบบ 100 แห่ง นายเลอศักดิ์ จุลเทศ ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ในอีก 3 ปีข้างหน้า หรือปี 2555 ธนาคารออมสินจะสร้างสถาบันการเงินชุมชนเพิ่มขึ้น 30,000 แห่ง หรือ 30,000 หมู่บ้าน และจะมีหมอหนี้ 60,000 คน ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและแนะนำชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลให้รู้จักการออม การลงทุน และการใช้เงินกู้เพื่อประกอบอาชีพอย่างถูกต้อง และสั่งเดินหน้าดูแลประชาชนรากหญ้าทั่วประเทศ ตั้งเป้า 3 ปี สร้างสถาบันการเงินชุมชน  30,000 แห่ง ผุดหมอหนี้ 60,000 คน กรุยทางสู่ไมโครไฟแนนซ์


วิเคราะห์ข่าว :
     - นายเลอศักดิ์ กล่าวว่า เมื่อปี 2545 ธนาคารออมสินได้รับมอบหมายจากรัฐบาล ซึ่งในสมัยนั้น    เป็นแหล่งเงินทุนให้แก่กองทุนหมู่บ้าน หมู่บ้านละ ล้านบาท จำนวน 63,000 หมู่บ้าน             จากทั้งหมด  79,000 หมู่บ้าน 
    - ในเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา ธนาคารได้เปิดสำนักงานสาขาที่ 1 สาขา ทำให้ธนาคารออมสินมีสำนักงานสาขาใน จ.กาฬสินธุ์ รวมเป็น 6 แห่ง และขอให้ธนาคารออมสินเปิดสำนักงานสาขาให้ครบทั้ง  18 อำเภอ
    - ปัจจุบันธนาคารออมสินได้สร้างหมอหนี้ไปแล้ว 10,000 คน และมีสถาบันการเงินชุมชนมากกว่า 2,100 แห่ง โดยแต่ละแห่งจะได้รับมอบคอมพิวเตอร์ฟรีเครื่องละ 25,000 บาท และปีหน้าอีกกว่า 70 ล้านบาท ธนาคารออมสินจะปล่อยเงินกู้ผ่านกองทุนหมู่บ้านในอัตราดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์ลบ 1 ซึ่งปัจจุบันเอ็มแอลอาร์ของธนาคารอยู่ที่ 6% ต่อปี หรือเท่ากับอัตราดอกเบี้ย 5% ต่อปี จากนั้นกองทุนหมู่บ้านก็จะนำเงินไปปล่อยกู้ต่อให้แก่ สมาชิกอีกทอด สำหรับอัตราดอกเบี้ยที่กองทุนหมู่บ้านคิดจากสมาชิกจะอยู่ที่ 8-9% ต่อปี 

               URL : ไทยรัฐ
   ผู้จัดทำ : นางสาวจุฬารักษ์ ภักดีอุดม รหัส 5911011804063


ข่าวสัปดาห์ที่ 10 “สุริยะ” ชูนโยบายพักหนี้กองทุนหมู่บ้าน 3 ปี รัฐบาลจ่ายดอกเบี้ยแทน


     

พลังประชารัฐ ประกาศนโยบายแก้จนเริ่มจากพักหนี้ ระหว่างนั้นถ้าเศรษฐกิจดียกให้เลยไม่ต้องใช้คืน อัดเงินเข้าสู่ระบบผ่านการการันตีราคาสินค้าเกษตร สร้างงานตั้งโรงงานในพื้นที่ พร้อมเติมเงินบัตรประชารัฐและสวัสดิการอื่นๆ


วันที่ 7 มี.ค.แกนนำพรรคพลังประชารัฐ นำโดย นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานยุทธศาสตร์ภาคอีสาน, นายอนุชา นาคาศัย ประธานยุทธศาสตร์ภาคกลาง ลงพื้นที่ จ.นครราชสีมา เพื่อช่วยนายบุญจง วงศ์ไรรัตน์ ผู้สมัคร ส.ส.นครราชสีมา เขต 9 หาเสียง โดยร่วมขึ้นเวทีปราศรัยที่โรงเรียนบ้านหนองตะไก้ อ.หนองบุญมาก จ.นครราชสีมา
โดยนายสุริยะ ปราศรัยตอนหนึ่งถึงนโยบายที่พรรคพลังประชาชนจะทำให้ประชาชนหากได้รับเลือกเป็นรัฐบาล ได้แก่ แก้ปัญหาหนี้สินให้กับประชาชน จากการกู้เงินในกองทุนหมู่บ้าน ด้วยนโยบายพักหนี้ดอกเบี้ยกองทุนหมู่บ้านเวลา 3 ปี และระหว่างพักหนี้รัฐบาลจะจ่ายดอกเบี้ยแทนประชาชน ทั้งนี้ช่วงทำโครงการพักหนี้ ขุนพลเศรษฐกิจของพรรคจะพลิกฟื้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้น และจะยกเลิกหนี้ให้ประชาชนในที่สุด ทั้งนี้หากพรรคพลังประชารัฐได้เป็นรัฐบาล จะมีกองทุนกองทุนพลังประชารัฐ หมู่บ้านละ 2 ล้านบาท แทนกองทุนหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนกู้เงินส่งลูกหลานเรียนต่อ และค้าขายเล็กๆ น้อยๆในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจ
นายสุริยะ กล่าวด้วยว่าสำหรับนโยบายเพื่อช่วยเหลือเกษตกร ผ่านการันตีราคา เช่น มันสำปะหลัง ราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 3 บาท ขณะที่การยกระดับคุณภาพชีวิต ผ่านการจ้างงานในพื้นที่ พรรคเตรียมตั้งโรงงานในพื้นที่ อ.หนองบุญมาก จ.นครราชสีมา เพื่อสร้างงานให้ประชาชนในพื้นที่  ขณะที่โครงการบัตรประชารัฐจะทำต่อเนื่อง แม้มีเสียงท้วงติงแต่ตนไม่สนใจ หากพรรคพลังประชารัฐเข้ามาเป็นรัฐบาลจะเติมเงินคนที่ถือบัตรประชารัฐให้แน่นอน ขณะที่ผู้ที่ยังไม่ได้บัตรจะพิจารณาให้เพิ่มเติมตามเงื่อนไขที่กำหนด นอกจากนั้นนโยบายมารดาประชารัฐยืนยันทำได้แน่นอน โดยผู้มีบุตร 1 คนจะได้รับเงินรายเดือนตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนคลอด รวมแล้วเป็นเงิน 1.8 แสนบาทต่อบุตร 1 คน หากท้องลูกแฝดจะได้รับเงินอุดหนุนเป็น 2 เท่า
ขณะที่นายอนุชา ขึ้นปราศรัยว่าตนรู้ถึงหัวใจของประชาชนส่วนใหญ่ และชาวนาของประเทศที่ลำบาก เพราะเป็นหนี้ ไม่ว่าผ่านมากี่รัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ทุกวันนี้มีแต่คนพูดถึงการสืบทอดอำนาจแต่ไม่เคยพูดถึงความกินดีอยู่ดี และการปลดหนี้ให้ประชาชน ทั้งที่เงินบาทแรกที่หมุนเวียนและเป็นเส้นเลือดใหญ่ของระบบเศรษฐกิจในประเทศ คือ เงินของเกษตรกร ดังนั้นสิ่งที่พรรคพลังประชารัฐตกผลึกเพื่อช่วยแก้ปัญหา คือ เริ่มจากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อให้ประชาชนอยู่ได้ ต่อจากนั้นคือ การการันตีราคาพืชผล และเติมเงินให้เกษตรกร โดยราคาอ้อยต้องไม่ต่ำกว่า 1,200 บาท และ ราคายาง ไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 65 บาท, การันตีราคาข้าว 2,000 บาทต่อไร่ ไม่เกิน 20ไร่ ขณะที่การปลูกข้าว จะเติมเงินให้ 1,500 บาทต่อไร่

“พวกเราตั้งใจ และสู้ตาย เพื่อทำงานให้ประชาชนทั้งประเทศหายจากความยากจน เราจะไม่เข้าสู่การเมืองเพื่อแสวงหาอำนาจ หรือสร้างความขัดแย้งแตกแยกทางการเมือง พรรคพลังประชารัฐมีคนเก่งที่อาสาทำงานเพื่อประชาชนในสภาผู้แทนราษฎร คือ ท่านบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ซึ่งท่านบุญจงเป็นผู้มีจิตใจดี และทำงานเพื่อประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง” นายอนุชา กล่าว

สรุปข่าว :  
ในวันที่ 7 มีนาคม 2562 แกนนำพรรคพลังประชารัฐ ได้ปราศรัยถึงนโยบายหนึ่ง ที่จะทำให้แก่ประชาชนหากได้รับการเลือกตั้ง คือ การแก้ปัญหาหนี้สินให้กับประชาชน จากการกู้เงินในกองทุนหมู่บ้าน ด้วยนโยบายพักหนี้ดอกเบี้ยกองทุนหมู่บ้านเวลา 3 ปี และระหว่างพักหนี้รัฐบาลจะจ่ายดอกเบี้ยแทนประชาชน ทั้งนี้ช่วงทำโครงการพักหนี้ ขุนพลเศรษฐกิจของพรรคจะพลิกฟื้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้น และจะยกเลิกหนี้ให้ประชาชนในที่สุด ทั้งนี้หากพรรคพลังประชารัฐได้เป็นรัฐบาล จะมีกองทุนกองทุนพลังประชารัฐ หมู่บ้านละ 2 ล้านบาท แทนกองทุนหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนกู้เงินส่งลูกหลานเรียนต่อ และค้าขายเล็กๆ น้อยๆในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจ.
พรรคพลังประชารัฐ ยังพูดต่ออีกว่า  หากได้รับการเลือกตั้งให้เป็นรัฐบาล โครงการบัตรประชารัฐที่เคยทำอยู่นั่น สำหรับคนที่ถืออยู่ ก็จะเติมเงินให้อย่างแน่นอน
ดังนั้นสิ่งที่พรรคพลังประชารัฐต้องช่วยแก้ปัญหา คือ เริ่มจากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อให้ประชาชนอยู่ได้ ต่อจากนั้นคือ การการันตีราคาพืชผล และเติมเงินให้เกษตรกร โดยราคาอ้อยต้องไม่ต่ำกว่า 1,200 บาท และ ราคายาง ไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 65 บาท, การันตีราคาข้าว 2,000 บาทต่อไร่ ไม่เกิน 20ไร่ ขณะที่การปลูกข้าว จะเติมเงินให้ 1,500 บาทต่อไร่
ทั้งนี้ที่กล่าวมา เพราะเนื่องจากไม่ต้องการให้ประชาชนมีหนี้สิน และเห็นปัญหาที่แท้จริงของประชาชน

วิเคราะห์ข่าว : 
นโยบายการแก้ไขปัญหาของพรรคพลังประชารัฐ โดยการกู้เงินในกองทุนหมู่บ้าน แต่พักการจ่ายดอกเบี้ย 3 ปี ซึ่งรัฐบาลจะเป็นคนจ่ายดอกเบี้ยให้แทน. ดิฉันคิดว่าก็เป็นผลดีกับประชาชนที่ไม่ต้องเร่งรีบหาเงิน ชาวบ้านมีเวลาหาเงินมากขึ้นสำหรับการจ่ายดอกเบี้ยในอีก 3 ปี ถัดไป  แต่ในข่าวไม่ได้บอกรายละเอียดว่า หลังจาก3 ปี ต้องจ่ายดอกเบี้ยร้อยละเท่าไหร่ และจ่ายอย่างไร  และรัฐบาลเอาเงินจากส่วนไหนมาจ่ายดอกเบี้ยแทน และบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
หากมีการเติมเงินในบัตรมากขึ้น ก็เป็นผลดีกับประชาชนเช่นกัน ในการช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน แต่หากจะเพิ่มเงินในบัตรให้มากขึ้น  ประเทศจะต้องมีเศรษฐกิจที่ดีกว่าปัจจุบัน

URL : Workpoint News
ผู้จัดทำ : นางสาวเขมมิสรา แสงบุญ รหัส 5911011804067


ข่าวสัปดาห์ที่ 11 เศรษฐกิจคิดง่ายๆ ดิจิทัล ชุมชนเข้มแข็งกับบทบาทของออมสินในการต่อสู้ความยากจน
ชุมชนเข้มแข็งกับบทบาทของออมสินในการต่อสู้ความยากจน
เมื่อผมได้มีโอกาสเดินทางไปกับธนาคารออมสิน หรืออีกนัยหนึ่งคือสถาบันการเงินที่ยืนเคียงข้างประชาชนคนไทยไม่ว่ายามทุกข์หรือยามสุขมากว่า 106 ปี นับจากปีพ.ศ.2456 ด้วยวิสัยทัศน์อันยาวไกลของล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 บทบาทของการเป็นสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาที่แข็งแกร่งจากรากฐานของผู้ฝากเงินลูกค้าสินเชื่อ ที่ธนาคารให้บริการทางการเงิน ลูกหนี้ตราสารที่ธนาคารลงทุน ซึ่งเป็นมุมที่เราเห็นอยู่แล้วนั้น โดยแท้จริงแล้วยังมีอีกบทบาทหนึ่งคือบทบาทการพัฒนาให้ชุมชนในระบบสังคมไทยมีความเข้มแข็ง มีพลังที่จะต่อสู้กับความยากจน สามารถสร้างรายได้ พึ่งตนเองและป้องกันคนหนุ่มสาวในพื้นที่อพยพเข้ามาเป็นลูกจ้าง พนักงานนอกถิ่นที่อยู่อาศัย แต่มีเงื่อนไขว่าต้องยึดโยงกับ
(1) ภูมิปัญญาชาวบ้านในท้องถิ่น (2) ผู้นำเข้มแข็ง (3) ยึดโยงทำงานเป็นเครือข่ายบทบาทของธนาคารเพื่อการพัฒนาคือการเข้าไปเสริม ประสาน เติมเต็มส่วนขาด ไม่ใช่การสั่ง การชี้นำ หรือการหว่านเงินกู้ เพราะถ้าทำแบบหาเงินฝาก ปล่อยเงินกู้อย่างที่ธนาคารพาณิชย์ทำกันนั้น มันจะไม่สามารถได้ใจชุมชนเพราะตัวธนาคารนั้นมีศักยภาพในการหาคนที่รู้หาฐานความรู้จากงานวิจัย หาเครื่องมือมาช่วยแก้ไขปัญหาที่ชุมชนอยากจะให้แก้ไข สิ่งที่เป็นเป้าหมายที่ผมเห็นเป็นรูปธรรมในการทำงานของธนาคารออมสินในการต่อสู้กับปัญหาความยากจนภายใต้กรอบนโยบายของทางการก็คือ หนึ่ง การมีหน่วยงานในพื้นที่ที่จะไปทำงานกับชุมชนโดยธนาคารรับผิดชอบต้นทุนเอาไว้เอง สอง การมีสายงาน กลุ่มงาน ฝ่ายงานรับผิดชอบตั้งแต่ระดับผู้นำองค์กร ผู้บริหารระดับสูง หัวหน้าหน่วยงานชัดเจน สาม การเติมเงินทุนสนับสนุนอย่างมีเหตุและผล โดยผลได้ที่กลับมาอาจไม่ใช่ตัวเลขเชิงพาณิชย์แต่เป็นตัวเลขที่สะท้อนความอยู่ดีมีสุขของชุมชนเช่นรายได้ของคนในชุมชน เงินออมของครอบครัว การไม่มีหนี้นอกระบบ จำนวนลูกหลานที่ไม่ย้ายถิ่นไปทำงานในเมืองเป็นต้น ผมใคร่ขอยกตัวอย่างโครงการที่ผมได้ลงไปในพื้นที่คือ
ตัวอย่างแรก การสร้างความเข้มแข็งชุมชนโดยใช้ประโยชน์จากพืชที่เรียกว่าต้นจาก ท่านผู้อ่านลองคิดว่าจากผู้นำที่มีความรู้ที่เลิกทำบ่อกุ้งกุลาดำ แล้วเอาขี้เลนจากการลอกบ่อกุ้งของเพื่อนๆรอบข้างมาถมบ่อตัวเองสามไร่ ไปทำวิจัยดินว่าตรงนี้ดินตรงนี้เหมาะจะปลูกต้นอะไร พอรู้ว่าเป็นต้นจาก ก็ไปเอาภูมิปัญญาดั้งเดิมในเรื่องประโยชน์ของต้นจากมาทำเป็นสินค้าเพื่อขาย แต่ด้วยความคิดแบบบ้านๆ สินค้าเลยออกมาแบบใส่ถุงผูกหนังยางเอาปากกาเขียนที่ถุงว่า 20 บาท การเปิดใจเมื่อลูกสาวที่ไปเรียนศิลปศาสตร์สาขาภาษาไทย พาอาจารย์และชวนเพื่อนมาทำโครงการปรับปรุงผลิตภัณฑ์  หีบห่อ ที่เราเรียกว่า packaging design ก็พบว่าสามารถส่งขายผ่านเฟซบุ๊ก ในราคา 50 บาทซึ่งถ้าคิดแล้วคือมากกว่าๆ 20 บาทต่อถุงเกิน 100% ผมเห็นแววตาคุณลุงชาวสวนต้นจาก แกภาคภูมิใจในตัวลูก มั่นใจในภรรยา และเชื่อใจอาจารย์จากมหาวิทยาลัยในพื้นที่ และเหนือกว่าสิ่งใดแกมีความภูมิใจในความเป็นครูที่แกได้ถ่ายทอดภูมิปัญญาให้กับลูกหลานไทยเป็นร้อยเป็นพันเมื่อผมได้สอบถามถึงจำนวนของชุมชน จำนวนสถาบันการศึกษาที่เข้ามาภายใต้การสนับสนุนของธนาคารออมสินก็พบว่ามีจำนวนหลักร้อย แน่นอนว่ามันยังต้องมีการขยายผลอีกในปีต่อๆไป แต่หากไม่ใช่การทำงานต่อเนื่อง คนธนาคารออมสินไม่ทุ่มเทจริงจังแล้ว ผลงานที่ผมเห็นคงจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอนท่านผู้อ่านต้องเข้าใจก่อนว่าปัญหาความยากจน มันมาจากหลายมิติ ขาดโอกาสในการแสดงศักยภาพ ขาดทุนรอนในการประกอบการ ขาดองค์ความรู้จากที่อื่นมาเติมเต็ม เสริมต่อ สิ่งเหล่านี้ไม่อาจใช้แต่เงินให้สินเชื่อแก้ไขได้ การลงทุนเพื่อสังคมโดยแบกรับภาระค่าใช้จ่ายทั้งเรื่องคนเรื่องของเอาไว้ในงบการเงินของธนาคารเองในแต่ละปี เพื่อให้สิ่งที่เรียกว่าชุมชนเข้มแข็งมีมากขึ้น ปัญหาความยากจนลดลงไป มีเงินออมมากขึ้น และตัดวงจรหนี้นอกระบบ ที่สุดคือความร่มเย็นเป็นสุขของสังคมไทย ผมได้เรียนรู้ว่าในช่วงเวลาที่มนุนษย์การเมืองกำลังแก่งแย่งช่วงชิงอำนาจ วาสนากันบนคะแนนเลือกตั้ง จนแบ่งฝักแบ่งฝ่าย กลับมีธนาคารของรัฐที่เด็กๆรู้จัก กำลังมุ่งมั่นทำคุณความดี แบบไม่แบ่งแยกยากดีมีจนเพียงเพื่อบรรลุเป้าหมายที่คนไทยต้องการ ทั้งๆที่เป้าหมายเหล่านั้นคือคำสัญญาประชาคมที่เหล่ามนุษย์การเมืองลืมเลือนไปในเวลาอันสั้นหลังเลือกตั้งด้วยเพราะกำลังมุ่งมั่นแก่งแย่งสิ่งที่เรียกว่า อำนาจรัฐ ผมได้แต่ภาวนาให้เขาเหล่านั้นอย่าได้ประสบความสำเร็จเลย
สรุป  
ชุมชนเข้มแข็งกับบทบาทของออมสินในการต่อสู้ความยากจน  บทบาทของการเป็นสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาที่แข็งแกร่งจากรากฐานของผู้ฝากเงินลูกค้าสินเชื่อ ที่ธนาคารให้บริการทางการเงิน ลูกหนี้ตราสารที่ธนาคารลงทุน ซึ่งเป็นมุมที่เราเห็นอยู่แล้วนั้น โดยแท้จริงแล้วยังมีอีกบทบาทหนึ่งคือบทบาทการพัฒนาให้ชุมชนในระบบสังคมไทยมีความเข้มแข็ง มีพลังที่จะต่อสู้กับความยากจน สามารถสร้างรายได้ พึ่งตนเองและป้องกันคนหนุ่มสาวในพื้นที่อพยพเข้ามาเป็นลูกจ้าง พนักงานนอกถิ่นที่อยู่อาศัย แต่มีเงื่อนไขว่าต้องยึดโยงกับ�(1) ภูมิปัญญาชาวบ้านในท้องถิ่น (2) ผู้นำเข้มแข็ง (3) ยึดโยงทำงานเป็นเครือข่าย
      บทบาทของธนาคารเพื่อการพัฒนาคือการเข้าไปเสริม ประสาน เติมเต็มส่วนขาด ไม่ใช่การสั่ง การชี้นำ หรือการหว่านเงินกู้ เพราะถ้าทำแบบหาเงินฝาก ปล่อยเงินกู้อย่างที่ธนาคารพาณิชย์ทำกันนั้น มันจะไม่สามารถได้ใจชุมชนเพราะตัวธนาคารนั้นมีศักยภาพในการหาคนที่รู้หาฐานความรู้จากงานวิจัย หาเครื่องมือมาช่วยแก้ไขปัญหาที่ชุมชนอยากจะให้แก้ไข สิ่งที่เป็นเป้าหมายที่ผมเห็นเป็นรูปธรรมในการทำงานของธนาคารออมสินในการต่อสู้กับปัญหาความยากจนภายใต้กรอบนโยบายของทางการก็คือ -การมีหน่วยงานในพื้นที่ที่จะไปทำงานกับชุมชนโดยธนาคารรับผิดชอบต้นทุนเอาไว้เอง-การมีสายงาน กลุ่มงาน ฝ่ายงานรับผิดชอบตั้งแต่ระดับผู้นำองค์กร ผู้บริหารระดับสูง หัวหน้าหน่วยงานชัดเจน�-การเติมเงินทุนสนับสนุนอย่างมีเหตุและผล โดยผลได้ที่กลับมาอาจไม่ใช่ตัวเลขเชิงพาณิชย์แต่เป็นตัวเลขที่สะท้อนความอยู่ดีมีสุขของชุมชนเช่นรายได้ของคนในชุมชน เงินออมของครอบครัว การไม่มีหนี้นอกระบบ จำนวนลูกหลานที่ไม่ย้ายถิ่นไปทำงานในเมืองเป็นต้น
วิเคราะห์ข่าว
ชุมชนเข้มแข็งกับบทบาทของออมสินในการต่อสู้ความยากจน บทบาทของการเป็นสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาที่แข็งแกร่งจากรากฐานของผู้ฝากเงินลูกค้าสินเชื่อ ที่ธนาคารให้บริการ โดยแท้จริงแล้วยังมีอีกบทบาทหนึ่งคือบทบาทการพัฒนาให้ชุมชนในระบบสังคมไทยมีความเข้มแข็ง มีพลังที่จะต่อสู้กับความยากจน สามารถสร้างรายได้เเละสามารถพี่งพาตนเองได้ แต่มีเงื่อนไขว่าต้องยึดโยงกับ (1) ภูมิปัญญาชาวบ้านในท้องถิ่น (2) ผู้นำเข้มแข็ง (3) ยึดโยงทำงานเป็นเครือข่าย บทบาทของธนาคารเพื่อการพัฒนาคือการเข้าไปเสริม เติมเต็มส่วนขาด หรือการการชี้นำ โดยเป็นการต่อสู้กับปัญหาความยากจนภายใต้กรอบนโยบายของทางการก็คือ การมีหน่วยงานในพื้นที่ที่จะไปทำงานกับชุมชนโดยธนาคารรับผิดชอบต้นทุนเอาไว้เอง-การมีสายงาน เเละหัวหน้าหน่วยงานชัดเจนเเละมีการเติมเงินทุนสนับสนุนอย่างมีเหตุและผล โดยผลได้ที่กลับมาอาจไม่ใช่ตัวเลขเชิงพาณิชย์แต่เป็นตัวเลขที่สะท้อนความอยู่ดีมีสุขของชุมชนเช่นรายได้ของคนในชุมชน
URL : บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด
ผู้จัดทำ : นางสาวอภิญญา บุญเรือง รหัส 5911011804070


ข่าวสัปดาห์ที่ 12 : ธ.ก.ส. แจงปี 62 จ่อปล่อยสินเชื่อเพิ่ม 5 แสน ล. ช่วยเกษตรกร-วิสาหกิจชุมชน



ธ.ก.ส. วาดแผนดำเนินงานปีบัญชี 2562 ปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น 5 แสนล้านบาท เล็งกลุ่มลูกค้ารายย่อย-กลาง และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน-เอสเอ็มอีเกษตรเป็นหลัก พร้อมวางยุทธศาสตร์นโยบายเกษตรยั่งยืน วางกรอบทำเกษตรกรรม 5 รูปแบบ สร้างเกษตรกรไทยสู่ความยั่งยืน นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธนาคารอยู่ระหว่างการทำแผนดำเนินงานปีบัญชี 2562 (1 เม.ย. 2562- 31 มี.ค. 2563) เบื้องต้นตั้งเป้าหมายปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นสุทธิ 5 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 4% แบ่งเป็นกลุ่มลูกค้ารายย่อยและรายกลาง ประมาณ 3 แสนล้านบาท และกลุ่มลูกค้านิติบุคคล เช่น วิสาหกิจชุมชน เอสเอ็มอีเกษตร อีก 2 แสนล้านบาท โดยปัจจุบันธนาคารมียอดสินเชื่อคงค้าง อยู่ที่ 1.36 ล้านล้านบาท ทั้งนี้ ในปีบัญชี 2561  (1 เม.ย. 2561 – 31 มี.ค. 2562) ธนาคารตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น 7.5 แสนล้านบาท แต่เนื่องจากรัฐบาลมีโครงการพักชำระหนี้ 3 ปี ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการสำรวจกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 3.8 ล้านราย และมีการแสดงความประสงค์เข้าโครงการแล้ว 3.5 ล้านราย ซึ่งอาจทำให้เป้าหมายการปล่อยสินเชื่อต้องปรับตัวลดลงเหลือ 5 แสนล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมา 2 ไตรมาส สามารถปล่อยสินเชื่อได้แล้วกว่า 3 แสนล้านบาท  นอกจากนี้ ในโอกาสที่ ธ.ก.ส.ครบรอบ 52 ปี ได้กำหนดยุทธศาสตร์การนำนโยบายเกษตรยั่งยืน ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ชาติ มาใช้เป็นกรอบในการพัฒนาเกษตรกรและภาคการเกษตรเพื่อสร้างความยั่งยืน ประกอบด้วยการทำเกษตรกรรม 5 รูปแบบ คือ เกษตรทฤษฎีใหม่ วนเกษตร เกษตรผสมผสาน เกษตรธรรมชาติ และเกษตรอินทรีย์ เป้าหมายพื้นที่ 5 ล้านไร่โดยด้านเกษตรอินทรีย์ ธ.ก.ส. มีเป้าหมายชุมชนเข้าร่วมโครงการจำนวน 600 ชุมชน และขยายพื้นที่เกษตรอินทรีย์ไม่น้อยกว่า 6 หมื่นไร่ ภายในปี 2563 โดยมีโครงการสินเชื่อส่งเสริมและสนับสนุนสินเชื่อสีเขียว (Green Credit ) วงเงิน 5 พันล้านบาท และสินเชื่อชุมชนปรับเปลี่ยนการผลิตเพื่อพัฒนาอาชีพของผู้มีรายได้น้อย (XYZ) วงเงิน 2 พันล้านบาท  ด้านวนเกษตรและสิ่งแวดล้อม ธ.ก.ส พร้อมสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกต้นไม้ตามแนวทาง ป่า 3อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง โดยชุมชนเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อน ภายใต้โครงการธนาคารต้นไม้เชื่อมโยงไปสู่โครงการชุมชนไม้มีค่าตามนโยบายของรัฐบาล โดยปัจจุบันมีชุมชนที่ร่วมปลูกต้นไม้กับ ธ.ก.ส. ตามโครงการธนาคารต้นไม้จำนวน 6.8 พันชุมชน มีสมาชิก 1.15 แสนราย มีจำนวนต้นไม้ที่ปลูกเพิ่มขึ้นในประเทศกว่า 11.7 ล้านต้น ด้านความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ มุ่งเน้นการบริหารจัดการหนี้ให้กับเกษตรกรที่มีภาระหนัก ผ่านมาตรการขยายระยะเวลาการชำระหนี้ ซึ่งมีลูกค้าเป้าหมาย 3.8 ล้านราย คิดเป็นมูลหนี้รวมกว่า 9 แสนล้านบาท ส่วนเรื่องมาตรการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือบัตรคนจนเฟส 2 ที่พัฒนาอาชีพหารายได้เพิ่ม ซึ่งทางกระทรวงการคลัง ตั้งเป้าหมายให้ช่วยเกษตรกรลูกค้า 8 แสนรายที่มารายได้ต่ำกว่าเส้นแบ่งความยากจน ให้มีรายได้สูงกว่า 3 หมื่นบาทต่อคนต่อปีคิดเป็นสัดส่วน 30 % ของกลุ่มเป้าหมายภายในปีนี้ โดยผลดำเนินงานล่าสุด ธนาคารสามารถยกระดับเกษตรกรผู้มีบัตรสวัสดิการ ที่มีรายได้ไม่เกิน 2 หมื่นบาทต่อปี มีจำนวน 5.99 แสนราย ยกระดับรายได้ให้เกิน 2 หมื่นบาท ได้แล้วจำนวน 1.46 แสนราย คิดเป็น 24.42% และผู้มีรายได้ระหว่าง 20,001-30,000 บาทต่อปี จำนวน 2.84 แสนราย สามารถยกระดับรายได้ให้เกิน 3 หมื่นบาท ต่อปี ได้แล้วจำนวน 7.43 หมื่นราย คิดเป็น 26.15%  คาดว่าจะสามารถยกระดับรายได้ผู้ถือบัตรสวัสดิการได้ครบ 2.4 แสนราย หรือ 30% ได้ตามเป้าหมายภายในสิ้นปีนี้ ด้านการออมของผู้ที่ประสงค์พัฒนาตัวเอง 2.76 ล้านราย พบว่ามีเงินออมเพิ่มขึ้น จำนวน 1.63 พันล้านบาท เฉลี่ยมีเงินฝากเพิ่มขึ้นรายละ 591 บาท


สรุป      ธ.ก.ส. วาดแผนปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น 5 แสนล้านบาท เล็งกลุ่มลูกค้ารายย่อย-กลาง และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน-เอสเอ็มอีเกษตรเป็นหลักพร้อมวางยุทธศาสตร์นโยบายเกษตรยั่งยืน วางกรอบทำเกษตรกรรม 5 รูปแบบ สร้างเกษตรกรไทยสู่ความยั่งยืน คือ เกษตรทฤษฎีใหม่ วนเกษตร เกษตรผสมผสาน เกษตรธรรมชาติ และเกษตรอินทรีย์ เป้าหมายพื้นที่ 5 ล้านไร่ ธนาคารตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น 7.5 แสนล้านบาท แต่เนื่องจากรัฐบาลมีโครงการพักชำระหนี้ 3 ปี ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการสำรวจกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 3.8 ล้านราย และมีการแสดงความประสงค์เข้าโครงการแล้ว 3.5 ล้านราย ซึ่งอาจทำให้เป้าหมายการปล่อยสินเชื่อต้องปรับตัวลดลงเหลือ 5 แสนล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมา 2 ไตรมาส สามารถปล่อยสินเชื่อได้แล้วกว่า 3 แสนล้านบาท

วิเคราะห์ข่าว     ธ.ก.ส. วางแผนที่จะปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น 5 แสนล้านบาท ธนาคารได้ยกระดับเกษตรกรผู้มีบัตรสวัสดิการ ที่มีรายได้ไม่เกิน 2 หมื่นบาทต่อปี ยกระดับรายได้ให้เกิน 2 หมื่นบาท ได้แล้วจำนวน 1.46 แสนราย และผู้มีรายได้ระหว่าง 20,001-30,000 บาทต่อปี ยกระดับรายได้ให้เกิน 3 หมื่นบาท ต่อปี จำนวน 7.43 หมื่นราย ด้านการออมของผู้ที่ประสงค์พัฒนาตัวเอง พบว่ามีเงินออมเพิ่มขึ้น จำนวน 1.63 พันล้านบาท เฉลี่ยมีเงินฝากเพิ่มขึ้นรายละ 591 บาท

URL : ไทยโพสต์

ผู้จัดทำ : นางสาวศุภลักษณ์     แซ่ก้วน  รหัส 5911011804076



ข่าวสัปดาห์ที่ 13 : รัฐปั้นฝัน 1 ตำบล 1 สถาบันการเงิน


     นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) จ.จันทบุรี เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.สถาบันการเงินประชาชนเพื่อช่วยให้ประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลให้สามารถรับการบริการทางการเงินได้สะดวก และลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง โดยกฎหมายฉบับนี้จะส่งเสริมให้องค์กรทางการเงินในชุมชน ทั้งที่เป็นกลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ หรือสถาบันการเงินชุมชน เข้ามาจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลได้ด้วยความสมัครใจ เพื่อยกระดับเป็นสถาบันการเงินชุมชนที่ถูกต้องตามกฎหมาย
“การผลักดันกฎหมายนี้ออกมาถือเป็นการปฏิรูประบบการเงินฐานรากครั้งสำคัญของประเทศไทยที่ประชาชนกว่า 20-30 ล้านคนจะได้รับประโยชน์โดยตรง ทำให้คนมีรายได้น้อยเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากขึ้น เพราะที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้รายงานว่า จากข้อมูลในปี 2556 มีปริมาณครัวเรือนของไทยที่ไม่ใช้บริการเงินฝากสูงถึง 19.28% ของครัวเรือนทั้งหมด โดยอัตราครัวเรือนที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการด้านเงินฝากสูงสุดเป็นกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำ และอาศัยอยู่นอกเขตเมือง และมีคนที่เข้าไม่ถึงสินเชื่อ 10%
    ทั้งนี้ หลังจากกฎหมายผ่านการเห็นชอบสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และมีผลบังคับใช้จะมีสถาบันการเงินชุมชนเกิดขึ้นประมาณ 3,500-7,000 แห่งทั่วประเทศ หรือคิดเป็น 1 ตำบล 1 สถาบันการเงินชุมชน ซึ่งจะสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และไม่กระทบกับใครไม่ว่าจะเป็นกองทุนหมู่บ้านหรือกลุ่มอื่นๆ เพราะเป็นการสมัครใจไม่ใช่การบังคับ ขณะที่ในปัจจุบันพบว่ามีกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ 20,000 กว่าแห่ง และมีสถาบันการเงินชุมชนอยู่ 1,700 แห่ง
    สาระสำคัญของกฎหมายได้กำหนดให้มีคณะกรรมการพัฒนาระบบสถาบันการเงินประชาชน มีหน้าที่กำกับดูแล ตรวจสอบ และส่งเสริมสถาบันการเงินประชาชน กำหนดหลักเกณฑ์การจัดตั้งจดทะเบียน ดำเนินการ การเพิกถอน พ้นสภาพ รวมถึงประเภทหรือลักษณะสถาบันการเงินประชาชน ออกระเบียบกำหนดคุณสมบัติสมาชิก ให้ความเห็นชอบคำขอจดทะเบียน ยกเลิกและเพิกถอนการเป็นสถาบันการเงินประชาชน กำหนดกรอบอัตราดอกเบี้ยค่าธรรมเนียม ค่าบริการ และผลตอบแทนของสถาบันการเงินประชาชน โดยมีธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนับสนุนช่วยเหลือ และอาจจะต่อยอดการพัฒนาเป็นอีแบงกิ้งในชุมชน.
สรุปข่าว : นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) จ.จันทบุรี เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.สถาบันการเงินประชาชนเพื่อช่วยให้ประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลให้สามารถรับการบริการทางการเงินได้สะดวก และลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง โดยกฎหมายฉบับนี้จะส่งเสริมให้องค์กรทางการเงินในชุมชน หรือสถาบันการเงินชุมชน เข้ามาจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลได้ด้วยความสมัครใจ เพื่อยกระดับเป็นสถาบันการเงินชุมชนที่ถูกต้องตามกฎหมาย กฎหมายนี้ออกมาถือเป็นการปฏิรูประบบการเงินฐานรากครั้งสำคัญของประเทศไทยที่ประชาชนกว่า 20-30 ล้านคนจะได้รับประโยชน์โดยตรง ทำให้คนมีรายได้น้อยเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากขึ้นโดยอัตราครัวเรือนที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการด้านเงินฝากสูงสุดเป็นกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำ และอาศัยอยู่นอกเขตเมือง และมีคนที่เข้าไม่ถึงสินเชื่อ กฎหมายได้กำหนดให้มีคณะกรรมการพัฒนาระบบสถาบันการเงินประชาชน มีหน้าที่กำกับดูแล ตรวจสอบ และส่งเสริมสถาบันการเงินประชาชน กำหนดหลักเกณฑ์การจัดตั้งจดทะเบียน ดำเนินการ การเพิกถอน พ้นสภาพ รวมถึงประเภทหรือลักษณะสถาบันการเงินประชาชน ออกระเบียบกำหนดคุณสมบัติสมาชิก ให้ความเห็นชอบคำขอจดทะเบียน ยกเลิกและเพิกถอนการเป็นสถาบันการเงินประชาชน 
วิเคราะห์ข่าว : นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.สถาบันการเงินประชาชนเพื่อช่วยให้ประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลให้สามารถรับการบริการทางการเงินได้สะดวก และลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง โดยกฎหมายฉบับนี้จะส่งเสริมให้องค์กรทางการเงินในชุมชน หรือสถาบันการเงินชุมชน เข้ามาจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลได้ด้วยความสมัครใจ เพื่อยกระดับเป็นสถาบันการเงินชุมชนที่ถูกต้องตามกฎหมาย
  การผลักดันกฎหมายนี้ออกมาถือเป็นการปฏิรูประบบการเงินฐานรากครั้งสำคัญของประเทศไทยที่ประชาชนกว่า 20-30 ล้านคนจะได้รับประโยชน์โดยตรง ทำให้คนมีรายได้น้อยเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากขึ้น เพราะที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทั้งนี้ หลังจากกฎหมายผ่านการเห็นชอบสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และมีผลบังคับใช้จะมีสถาบันการเงินชุมชนเกิดขึ้นประมาณ 3,500-7,000 แห่งทั่วประเทศ หรือคิดเป็น 1 ตำบล 1 สถาบันการเงินชุมชน ซึ่งจะสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และไม่กระทบกับใครไม่ว่าจะเป็นกองทุนหมู่บ้านหรือกลุ่มอื่นๆ เพราะเป็นการสมัครใจไม่ใช่การบังคับ ขณะที่ในปัจจุบันพบว่ามีกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ 20,000 กว่าแห่ง และมีสถาบันการเงินชุมชนอยู่ 1,700 แห่ง 
   กฎหมายได้กำหนดให้มีคณะกรรมการพัฒนาระบบสถาบันการเงินประชาชน มีหน้าที่กำกับดูแล ตรวจสอบ และส่งเสริมสถาบันการเงินประชาชน กำหนดหลักเกณฑ์การจัดตั้งจดทะเบียน ดำเนินการ การเพิกถอน พ้นสภาพ รวมถึงประเภทหรือลักษณะสถาบันการเงินประชาชน ออกระเบียบกำหนดคุณสมบัติสมาชิก ให้ความเห็นชอบคำขอจดทะเบียน ยกเลิกและเพิกถอนการเป็นสถาบันการเงินประชาชน กำหนดกรอบอัตราดอกเบี้ยค่าธรรมเนียม ค่าบริการ และผลตอบแทนของสถาบันการเงินประชาชน โดยมีธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนับสนุนช่วยเหลือ และอาจจะต่อยอดการพัฒนาเป็นอีแบงกิ้งในชุมชน
ผู้จัดทำ : นางสาวเจนจิรา   มูลศรี  รหัส 5911011804057


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น